ผู้เขียน หัวข้อ: สาระของ พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข(ฉบับที่ผ่านครม.ไปแล้ว)  (อ่าน 2921 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
สาระของ พรบ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ฉบับ  NGO นี้

1. สถานพยาบาล ที่ถูกฟ้องร้องได้

รพ. ของรัฐทุกแห่ง ทุกกระทรวง ทบวงกรม 
รพ. เอกชน  คลินิกเอกชน 
สถานพยาบาล  สถานีอนามัย 
( แลป และร้านขายยา น่าจะอยู่ในข่ายด้วย)

2.  ผู้ให้บริการที่ถูกฟ้องร้องได้

แพทย์(รวมแผนไทยด้วย) พยาบาล  ทันตแพทย์  นักกายภาพบำบัด  นักเทคนิคการแพทย์  เภสัชกร
และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอื่น

3. คณะกรรมการ มี 21 คน

ไม่มีตัวแทนวิชาชีพแม้แต่คนเดียว   มี NGO 8 คน  พวกเรา(สถานพยาบาล) 3  คน และ
ไม้ประดับ 6 คน และ เลขา คือ อธิบดี และ จ.น.ท. 3 คน

4. การตัดสิน ชี้ขาดโดยเสียงข้างมาก ไม่เอาสาระวิชาการมาร่วมพิจารณา

5. กองทุนเงินชดเชย มาจาก

โอนมาจาก ม. 41 ของ สปสช. 
รวมกับ สถานพยาบาล(ทุกรพ. ทุกคลินิค)จ่ายสมทบ (เริ่มจาก 5 บาท / ผู้ป่วยนอก/ปี  ผู้ป่วยใน ? แต่จะเพิ่มขึ้นอีกถ้าถูกร้องบ่อย) 
และเงินอุดหนุนจากรัฐ
ซึ่งคาดว่ากองทุนนี้อยู่ในระดับหลายพันล้านต่อปี
(นี่อาจเป็น เหตุผลหนึ่งของการผลักดันให้เกิดพรบ.ฉบับนี้ ผลประโยขน์ของคนบางกลุ่ม)

บริหารและใช้จ่ายโดย คณะกรรมการ คือ รัฐมนตรี กับ NGO  ใน 21 คน นั่นแหละ
(มีอนุกรรมการอีก อย่างน้อย 3 คณะ) โดยใช้จ่ายเป็นค่าบริหาร เบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง ค่าประชุม และอื่นๆ(ที่ไม่เกี่ยวกับการช่วยเหลือ และชดเชยให้ผู้ร้อง) ได้ถึง 10%ของกองทุน/ปี(อาจถึง 100 ล้าน ถ้ากองทุนมีเป็น 1000 ล้าน)

6. ผู้เสียหาย ขอเงินชดเชยได้ ใน 3 ปี นับแต่วันที่รู้ และขอได้อีกหลังจากนั้นถ้าเกิดอาการใหม่ ไม่จำกัดครั้งใน10 ปี

7. จ่ายเงินชดเชย 
ขั้น 1 จ่ายใน 7 วัน โดยไม่พิสูจน์ถูกผิด (50,000  120,000  200,000บาท)
ขั้น 2 จ่ายใน 30 วันหลังจากพิสูจน์ ถูกผิด และตัดสิน ได้อีก 5 – 10 เท่าของขั้น 1

8. ถ้าผู้เสียหายพอใจ รับเงิน และทำสัญญาประนีประนอม   
ถ้าไม่พอใจ มี 2 ทางคือ อุทธรณ์ขอเงินเพิ่มใน 30วัน
หรือ  ฟ้องคดีอาญา แล้วค่อยขอรับเงิน นี้ภายหลังได้

9. ฟ้องคดีอาญาได้ด้วย(ถ้าอยากฟ้อง)
ถ้าชนะ - ผู้ร้องจะได้  (แล้วแต่ดุลยพินิจของศาล) 
           1. เอาผู้บริการเข้าคุก     
           2. ได้เงินสินไหมทดแทนทางแพ่ง

          - ผู้ถูกร้องจะได้  (แล้วแต่ดุลยพินิจของศาล ว่าจะลงโทษ หรือไม่ก็ได้) 
            1. ติดคุก   
            2. จ่ายเงินสินไหมทดแทนทางแพ่ง จำนวนมาก
            3. ถูกยึดใบประกอบวิชาชีพ(ทั้ง 7 วิชาชีพ)  ทำงานไม่ได้
            4. ถูกให้ออกจากราชการ ผิดวินัยร้ายแรง ไม่มีบำเหน็จบำนาญ
            5. เข้ารับราชการอีกไม่ได้ เพราะเคยถูกตัดสินคดีอาญา
(ข้อ  3,  4, และ  5 มีผล อัตโนมัติ จากการถูกตัดสินคดีอาญา
ผู้แพ้คดี และครอบครัวจากการถูกฟ้องคดีอาญาเพียงครั้งเดียว  ก็ล้มละลายทั้งชีวิต)

10. เป็นการรวมศูนย์อำนาจในการพิจารณา และการจ่ายเงินแต่เพียงกลุ่มเดียว เดิมเป็นอำนาจของกรรมการของแต่ละจังหวัด(76 จังหวัด) ของแต่ละสถาบัน(โรงเรียนแพทย์) ของแต่ละแห่ง(เอกชน)

*ประเทศต่างๆ ในโลกนี้  ไม่มีฟ้องคดีอาญาผู้ให้บริการการรักษาผู้ป่วย มีเพียงฟ้องแพ่งเท่านั้น*
พ.ร.บ. ฉบับเต็ม  เข้าดูได้ใน  web  แพทย์สภา  www. Moph.go.th หรือ  www.tmc.or.th

แล้วจะให้ พรบ.ฉบับนี้ผ่านสภาได้หรือ?