ผู้เขียน หัวข้อ: (ภัยคุกคามจาก)พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข-พญ.เชิดชู  (อ่าน 3319 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ....

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสมาพันธ์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแห่งประเทศ ไทย

ปัจจุบันนี้ ร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ผ่านมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่  7 เมษายน 2553แล้ว และกำลัง รอเข้าคิวการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจะผ่านออกมาเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไป ถ้าได้รับการลงคะแนนให้ผ่านทั้ง 2 สภา

  ในร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้ให้เหตุผลว่า การมีร่างพ.ร.บ.นี้ก็เพื่อที่จะเยียวยาความเสียหายจากการที่ประชาชนไปรับการ บริการสาธารณสุข อย่างรวดเร็วและเป็นธรรมโดยไม่ต้องฟ้องร้อง และส่งเสริมให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขและประชาชนที่เจ็บป่วย

  ที่สำคัญยังกำหนดไว้เลยว่า ศาลจะมีคำตัดสินให้ลงโทษทางอาญาแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางสาธารณสุขหรือไม่ก็ได้

  ดูตามเหตุผลของการจัดทำร่างพ.ร.บ.นี้ก็ดูดี แต่เมื่อดูรายละเอียดแล้ว ก็จะพบความ “พิกลพิการ” ของร่างพ.ร.บ.นี้อย่างมากมายดังนี้

1.               มาตรา 5 ที่กำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น โดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด

ข้อสังเกต มีหลักกฎหมายใดบ้างที่ จ่ายเงินชดเชย โดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าผิดหรือไม่? ในต่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์นั้น อาจจะชดเชยความเสียหาย โดยไม่ถือว่า “เป็นความผิด” เช่น การฉีดวัคซีน แล้วเกิด “ผลอันไม่พึงประสงค์” ให้จ่ายค่าชดเชยได้ แต่ไม่ถือว่ามีความผิด เพราะเป็นผลอันไม่พึงประสงค์ของวัคซีน

2.               มาตรา 7 คณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาจ่ายเงินค่าเสียหายนั้น ไม่มีผู้แทนสภาวิชาชีพ ซึ่งเป็นผู้ “ทรงคุณวุฒิ” ด้านวิชาการแพทย์และสาธารณสุขอยู่เลย มีเพียงผู้แทนสถานพยาบาล 3 คน ในจำนวนกรรมการทั้งหมด 18 คน ซึ่งมิใช่ผู้มีวิชาชีพทางการแพทย์และสาธารณสุข อาจจะทำให้การพิจารณาจ่ายค่าชดเชย ไม่เกิดความถูกต้องตามหลักวิชาการทางการแพทย์และสาธารณสุข

3.               มาตรา 21 กำหนดให้สถานพยาบาลทุกแห่งต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและอัตรา ตามที่ “คณะกรรมการ” ประกาศกำหนด เพื่อสมทบกองทุนเตรียมไว้จ่ายชดเชย โดยคำนิยามของ “สถานพยาบาล” นั้น หมายถึงสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ เอกชน คลินิกพยาบาล ผดุงครรภ์ ร้านขายยา ร้านกายภาพบำบัด การแพทย์ทางเลือก ฯลฯ ในภาครัฐก็มีโรงพยาบาลสังกัด ตำรวจ มหาดไทย กลาโหม ศึกษาธิการ สาธารณสุข และสภากาชาด

          ข้อสังเกตุ  สถานพยาบาลต่างๆเหล่านี้ ไม่เคยได้รับรู้เลยว่า จะมีการ “บังคับ” ให้จ่ายเงิน “ค่าประกันความเสียหายไว้ก่อน” ที่จะเริ่มทำการดูแลรักษาผู้ป่วย  ไม่เคยมีการทำ ประชาพิจารณ์หรือให้สิทธิออกความเห็นในเรื่องที่ตัวเองจะ “มีส่วนเสีย” อย่างเดียว แม้แต่น้อย (ไม่ใช่ มีส่วนได้/ส่วนเสียด้วยซ้ำ)

 ถ้า พ.ร.บ.นี้ออกมาจริง สถานพยาบาลก็คงต้อง “บวกค่าประกันความเสียหาย” เพิ่มขึ้นด้วย เพราะเอกชนก็มีต้นทุนดำเนินงานอยู่แล้ว ส่วนในซีกรัฐบาลนั้น รัฐบาลก็ต้องจ่ายเงินให้โรงพยาบาลเพิ่มขึ้น เพื่อเป็น “ค่าประกันการให้บริการทางการแพทย์” เพราะถ้ารัฐบาลไม่จ่ายเพิ่ม โรงพยาบาลของรัฐบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข ต้องถึงกาล “ล้มละลายและล่มสลาย” อย่างแน่นอน เพราะปัจจุบันนี้ โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขก็ใกล้จะล้มละลายอยู่แล้ว เนื่องจากขาดเงิน ขาดคน และขาดการพัฒนา ซึ่งเป็นผลพวงจากระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่สปสช.ได้ค่าหัวเพิ่มทุกปี แต่โรงพยาบาลไม่เคยได้ค่าหัวเท่ากับที่สำนักงบประมาณจัดมาให้เลย

4.               มาตรา 45 กำหนดให้ประชาชนฟ้องผู้ประกอบวิชาชีพในคดีอาญาได้อีก หลังจากได้รับค่าเสียหายแล้ว

ข้อสังเกตุ มาตรานี้ คือสิ่งกระตุ้นให้เยาวชน เลิก “อยากเป็นหมอ” เพราะหมอ คือจำเลยที่ 1 ของทุกการฟ้องร้องคดีอาญา เนื่องจากหมอ เป็นผู้รับผิดชอบคนที่ 1 ในทีมงานรักษาผู้ป่วย และหมอทั้งหลาย ก็คงจะอยากเลิกอาชีพหมอ ไป “ขายเต้าฮวยดีกว่า”  นี่คือสัญญาณการล่มสลายของระบบ การดูแลสุขภาพของประชาชน เพราะดูเหมือนว่า อาชีพหมอ เป็นอาชีพ ที่มีความเสี่ยงต่อการ “เข้าไปอยู่ในตาราง” เนื่องจาก “อยากช่วยชีวิตคนอื่น”ตามร่างพ.ร.บ.นี้