ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของแนวคิดการแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขออกจากกพ.  (อ่าน 3639 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
ความเป็นมาของแนวคิดการแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขออกจากกพ.
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทนแพทย์ในภาคราชการ
แพทยสภา
ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขมีมาอย่างยาวนาน และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเอง ไม่สามารถบริหารให้เกิดความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ม่สามารถสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรทำงานในกระทรวงอย่าง
ต่อเนื่องยาวนานได้ ได้แต่ออกมาตรการบังคับให้บุคลากรบางสาขาวิชาชีพเช่น แพทย์ พยาบาล ต้องมาทำงานชดใช้ทุนในกระทรวงสาธารณสุข แต่ภายหลังจากใช้ทุนตามระยะเวลาที่ถูกบังคับให้เข้าทำงานในกระทรวงแล้ว บุคลากรส่วนหนึ่งเลือกที่จะลาออกจากการทำงานในกระทรวงสาธารณสุข เพราะมีทางเลือกที่ดีกว่าในชีวิต
    ซึ่งทำให้ภาวะะการขาดแคลนบุคลากรของกระทรวงสาธารณสุขมีอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา บุคลากรที่ยังทำงานอยู่ก็ต้องแบกรับภาระงานหนักเกินกำลัง ตัวอย่างจาก บทคัดย่อเรื่อง “ชั่วโมงการทำงานของข้าราชการแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข” ของแพทย์หญิงฉันทนา ผดุงทศและคณะ ก็เป็นประจักษ์พยานได้ดีว่า ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์นั้นมีมากมายมหาศาล เกินมนุษย์ธรรมดา ทำให้บุคลากรเหล่านี้เกิดความเครียด ขาดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจที่จะสามารถรักษาความรักความศรัทธาต่อกระทรวงสาธารณสุขได้อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน
 ในการสัมมนาเรื่อง “แปดปีภายใต้หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ที่จัดโดยแพทยสภาเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2553 ตามการสรุปของคณะกรรมการจัดการสัมมนานั้น ได้พบว่ามีปัญหาทั้งการขาดงบประมาณ ขาดการพัฒนา ขาดกำลังคนและขาดขวัญกำลังใจของบุคลากรจากปัญหาเหล่านี้ คือ
1.   ไม่มีตำแหน่งบรรจุบุคลากร ต้องเป็นลูกจ้าง ไม่มีความมั่นคง ไม่ก้าวหน้า เงินค่าจ้างเท่าเดิมทุกปี
2.   ซีตัน ไม่มีตำแหน่งสูงขึ้น เงินเดือนก็เลื่อนขึ้นไม่ได้
3.   ต้องรับภาระงานมาก  ต้องทำงานนอกเวลาราชการโดยไม่สามารถปฏิเสธได้ ชั่วโมงการทำงานยาวนาน แต่ค่าตอบแทนต่ำ
4.   เสี่ยงต่อความผิดพลาด และการฟ้องร้อง
5.   ขาดแรงจูงใจและขาดขวัญ กำลังใจ จึงลาออก
6.   คนที่ยังอยู่ ยิ่งต้องรับภาระมากขึ้น
7.   ลาออกมากขึ้น
8.   เจรจากับผู้บริหาร/กพ. ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
9.   พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อัตตาหิ อัตตโน นาโถ” ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งแห่งตน
10.   จึงต้องมีการปฏิรูป ระบบข้าราชการ สธ. แยกออกจากกพ.
โดยขอให้บุคลากรที่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้มาร่วมเข้าชื่อ เพื่อยื่นเสนอกฎหมายในการแยกบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขออกจาก กพ. คือพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. .... เพื่อให้สามารถจัดสรรตำแหน่ง อัตรากำลัง และเงินเดือน/ค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับภาระงาน ความรับผิดชอบสูง เสี่ยงอันตรายจากการได้รับเชื้อโรค ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจและสร้างขวัญกำลังใจ ให้บุคลากรทำงานที่ดี มีคุณภาพมาตรฐาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป


today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ควรแยกข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขออกจากกพ.