ความเป็นมาของการเขียนแผนการปฏิรูปประเทศไทย
จากข่าวที่ว่าที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี คือคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ จะได้จัดให้มีการนำเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาของประเทศไทยทุกๆด้าน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้เจริญรุ่งเรืองและประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี บ้านเมืองมีความสงบสันติ ร่มเย็น และจะจัดให้มีการประชุมสภาประชาชน เพื่อเสนอความคิดเห็นในการปฏิรูปประเทศไทย
กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมืองจึงขอเสนอแผนการปฏิรูปประเทศไทยบ้าง เพื่อเสนอต่อที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ให้นำไปพิจารณาดำเนินการ ในส่วนที่เห็นสมควร
บทนำ
จะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมาหลายฉบับแล้ว แผนพัฒนาเหล่านี้ต่างมีเป้าหมายในการทำให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรือง ประชาชนมีฐานะทางเศรษฐกิจดี โดยมีดัชนีชี้วัดที่ค่า GDP เป็นสำคัญ
แต่ถึงแม้จะมีแผนพัฒนามาหลายฉบับแล้วก็ตามจนทำให้ค่า GDPเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามกระแสเศรษฐกิจโลก แต่ประเทศไทยก็ยังนับเป็นประเทศด้อยพัฒนา ประชาชนที่รวยสุดๆมีอยู่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์ และรวยอยู่ไม่กี่ตระกูลแต่ประชาชนที่ยากจน มีอยู่มากมาย จนมีคำกล่าวว่า ประชานไทยนั้น “รวยกระจุก แต่จนกระจาย” จนทำให้นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่มีเป้าหมายทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง นำเอาปัญหาความยากจนมาปลุกเร้า ให้คนจนยอมทนลำบากมาประท้วงอย่างยาวนาน ที่ในเมืองหลวง เพราะปัญหาความยากจนนั้นดำรงอยู่คู่กับคนไทยส่วนใหญ่มาอย่างยาวนาน นักการเมืองคนไหน อยากได้เสียงจากประชาชน ก็ต้องสัญญาว่า จะแก้ปัญหาความยากจนให้ “คนจนหมดไปจากประเทศไทย”
นายกรัฐมนตรีและคณะผู้ทำงานบริหารประเทศในขณะนี้ ต่างก็เห็นด้วยว่า ปัญหาความยากจน ด้อยโอกาส และไม่ได้รับความยุติธรรมในสังคมของประชาชนกลุ่มใหญ่ของประเทศไทยนั้น เป็นปัญหาที่มีอยู่จริง และต้องการระดมความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเหล่านี้
คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา
ในฐานะกลุ่มผู้พิทักษ์สิทธิพลเมือง เรามีแนวคิดในการแก้ปัญหา โดยให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เพราะปัญหาทุกอย่างของประเทศชาติ มีต้นตอของปัญหามาจาก “คน” ถ้าคนไม่มีปัญหาแล้ว ประเทศชาติก็ย่อมมีความสงบสุข และคนที่มีคุณภาพก็ย่อมช่วยกันพัฒนาประเทศชาติได้อย่างต่อเนื่องอย่างแน่นอน
การแก้ปัญหาตามแนวทางของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แนวทางการแก้ปัญหาชีวิตตามแนวทางของสมเด็จองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือการแก้ปัญหาเรื่องทุกข์ พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้วิธีการดับทุกข์ (แก้ปัญหา) ด้วยความจริงอันประเสริฐ 4 ประการคือคืออริยสัจสี่ คือทุกข์ (ปัญหา) สมุทัย ( สาเหตุแห่งปัญหา) นิโรธ (การสิ้นสุดแห่งปัญหา) และมรรค (วิถีทางในการแก้ปัญหา)
ขอเสนอหลักการในการแก้ปัญหาของประชาชนไทยและประเทศไทยตามลำดับดังนี้
1. ปัญหาของประเทศคืออะไร
2. สาเหตุแห่งปัญหาคืออะไร?
3. การหมดสิ้นแห่งปัญหาคืออะไร?
4. วิธีการแก้ปัญหาทำได้อย่างไร
1.ปัญหาของประเทศคืออะไร?
คำตอบ ปัญหาของประเทศไทยคือ ประชาชนไทยส่วนใหญ่ยังยากจน ขาดความรู้ และขาดโอกาสในการทำงานที่มีรายได้พอที่จะเลี้ยงชีพได้อย่างเหมาะสม ไม่ได้รับความยุติธรรมในสังคม หรือไม่ได้รับความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในสังคม ได้รับการบริการที่ไม่ดีจากข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐบาลไม่สามารถสร้างสาธารณูปโภคได้อย่างเท่าเทียมกันทั่วประเทศ มีดีอยู่เฉพาะในเมืองหลวง หรือหัวเมืองใหญ่ๆไม่กี่เมือง
2. สาเหตุแห่งปัญหาคืออะไร?
คำตอบ สาเหตุของปัญหาคือ
2.1.นักการเมืองที่ผลัดเปลี่ยนกันมาทำหน้าที่บริหารประเทศ หรือทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัตินั้น ส่วนหนึ่งขาดคุณธรรม จริยธรรม และกอบโกยผลประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง ก่อนที่จะเห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมือง รวมทั้งมีข่าวเรื่องการคอรัปชั่น การไม่ทำหน้าที่ในการมาประชุมรัฐสภา การยอมขายอุดมการณ์มาเลือก “อุดมกิน”เพื่อตนเอง การให้อามิสสินจ้างแก่ประชาชนในการเลือกตั้ง และประชาชนก็จะเลือกได้แต่นักการเมืองหน้าเดิมๆหรือเครือญาติของฝ่ายนักการเมืองหน้าเดิมกลับเข้ามาทำหน้าที่ในทางรัฐสภาและรัฐบาลอีกต่อไป
2.2. การบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทยอาจจะยังเป็นปัญหา เพราะผู้บังคับใช้กฎหมายไม่สามารถนำผู้ทุจริตมาลงโทษได้ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจทางการเมือง หรือมีอำนาจเงิน แต่ประชาชนอาจถูกใส่ร้ายปรือถูกลงโทษทท กดขี่ข่มเหงจากผู้รักษากฎหมาย นอกจากนี้ กฎหมายบางฉบับอาจไม่เป็นธรรม หรือ เจ้าหน้าที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา ไม่สามารถจัดการลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ ทำให้ประชาชน เสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากบริการของรัฐ
2.3.ประชาชนขาดความรู้ในข่าวสารบ้านเมืองที่ตรงไปตรงมา ทำให้ประชาชนบางส่วนถูกล่อลวงจากการโฆษณาชวนเชื่อของนักการเมือง ทำให้ถูกซื้อเสียงจากเงินที่ไม่บริสุทธิ์ของนักการเมือง แต่นักการเมืองเมื่อได้รับเลือกตั้งจากประชาชนแล้ว ก็ไม่พยายามกระจายความเจริญในการบริการสาธารณะตามหน้าที่ของฝ่ายบริหารให้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประชาชนชาวชนบท ช่างมีชีวิตที่ยากไร้และขาดแคลนไปทุกสิ่ง เป็นประชาชนที่ด้อยโอกาสในสังคม
เราคงเคยได้ยินคำว่า “โง่ จน เจ็บ” เป็นคำพูดที่ตรงเกินไป จนดูเหมือนว่าเป็นการดูถูกประชาชน แต่ความจริงก็คือความจริง ที่เราไม่สามารถบิดเบือนได้ สาเหตุของความยากจน คือ “ความไม่รู้” คือขาดความรู้ในการดำรงชีวิต และการหาเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัว เมื่อขาดความรู้ ก็ขาดแนวทางในการดำรงชีวิต ไม่มีความสามารถที่จะเรียกร้องสิทธิ์เสมอภาคในการมีโอกาสทำมาหากิน กลายเป็นคนด้อยโอกาสในสังคมทำให้มีรายได้ไม่พอเพียงกับการดำรงชีวิตยากจน เมื่อยากจนก็สุขภาพไม่ดี เจ็บป่วยบ่อยๆ ก็ยิ่งทำให้ความสามารถในการทำงานลดลง ยิ่งจนลงไปอีก ฉะนั้นการแก้ปัญหาความยากจน ไม่ใช่การเอาเงินไปแจกประชาชน แต่ต้องให้โอกาส ให้ความรู้ ให้ประชาชนมีความสามารถที่จะพึ่งตัวเองได้ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
3.การหมดสิ้นแห่งปัญหาคืออะไร?
3.1 มีนักการเมืองดี มีความสามารถมีคุณธรรม จริยธรรม ทำงานในหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่เห็นแก่อามิส สินจ้าง และเสียสละผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชน
รัฐบาลสามารถบริหารประเทศได้โดยอำนวยความเสมอภาค ความเป็นธรรมและอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชน สามารถส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชนทุกหมู่เหล่า และจัดให้มีความสะดวกและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และสาธารณูปโภคที่จำเป็นอย่างเสมอหน้ากัน มีการจัดเก็บภาษีที่เป็นธรรม เพื่อจะได้มีเงินมาบริหารกิจการให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน
นักการเมืองที่ดี ควรยึดหลักการของรัฐบุรุษผู้หนึ่งว่า “อย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่านบ้าง แต่จงถามตัวเองว่า จะทำอะไรให้แก่ประเทศชาติและประชาชนบ้าง” และรีบลงมือทำตั้งแต่บัดนี้
นักการเมืองที่ได้มาทำหน้าที่เป็นฝ่ายรัฐบาลบริหารประเทศ สามารถบริหารจัดการให้ประชาชนส่วนใหญ่มีสถานภาพก้าวพ้นความยากจน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ได้รับความเสมอภาค เท่าเทียมกันในสังคม และมีคุณภาพชีวิตที่ดี และประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม
3.2 สามารถบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างเสมอภาคและยุติธรรม และแก้ไขปรับเปลี่ยนกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในร่างกาย ทรัพย์สิน และการดำรงชีวิต โดยไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น และรับผิดชอบต่อครอบครัวและสังคม
3.3 ประชาชนสามารถเลือกคนดีมาบริหารบ้านเมือง ประชาชนมีความรู้เท่าทันการทำงานของนักการเมือง สามารถเลือกคนดี มีคุณธรรม มาทำงานบริหารประเทศชาติได้
4.แนวทางแก้ปัญหา เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4.1 การปฏิรูปนักการเมือง ให้เป็นคนดี มีความเสียสละเพื่อประเทศชาติและประชาชน และประชาชนมีความรู้เท่าทันว่า นักการเมืองคนไหนดี สมควรเลือกมาทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมือง เพื่อให้สามารถดำเนินการในด้านการบริหารและการออกกฎหมาย รวมทั้งควบคุมให้ข้าราชการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน
4.2 การปฏิรูปกฎหมายต่างๆ และปฏิรูปกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา
4.3 การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน