4 พฤษภาคม 2553เสนอรายชื่อคณะ กรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอ แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ตามมาตรา 13 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2552 จำนวน 8 คน ดังนี้
ศาสตราจารย์ วิจารณ์ พานิช เป็นประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย นายมงคล ณ สงขลา นายศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา พลตำรวจตรีชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ รองศาสตราจารย์ธิดา นิงสานนท์ ศาสตราจารย์วิภาดา คุณาวิกติกุล และนายพงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2553 เป็นต้นไป
11 พฤษภาคม 2553สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์จากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553จากการประมวลผลสถิติการร้อง ทุกข์ และผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์จากประชาชนที่มีมาถึงนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สรุปประเด็น สำคัญได้ดังนี้
สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์ ของประชาชนรวมทั้งสิ้น 36,485 ครั้ง จำแนกตามช่องทางการร้องทุกข์ โดยผ่านช่องทางสายด่วนของรัฐบาล 1111 มากที่ สุด รองลงมาคือ ช่องทางเว็บไซต์ (
www.1111.go.th) และช่องทางตู้ ปณ. 1111/ไปรษณีย์/โทรสาร ตามลำดับ
จำนวนเรื่องร้องทุกข์ จำแนกตามประเภทเรื่องที่ได้รับการประสาน รวมทั้งสิ้น 22,998 เรื่อง ประชาชนร้องทุกข์ในประเภทเรื่องหลักด้านสังคมและสวัสดิการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเมือง - การปกครอง และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ ในการนี้ ประเภทเรื่องรองที่ประชาชนร้องทุกข์มากที่สุด ได้แก่ กล่าวโทษหรือร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐ รองลงมาคือ สาธารณูปโภค และสังคมเสื่อมโทรม ตามลำดับ
จำนวนเรื่องร้องทุกข์และผล การดำเนินการ จำแนกตามหน่วยงาน โดยหน่วยงานต่าง ๆ ที่ได้รับการประสานงานเพื่อรับทราบและพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญาเรื่องร้องทุกข์ให้แก่ประชาชนรวมทั้งสิ้น 8,689 เรื่อง เรียงตามลำกับจากมากที่สุด ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)
รองลงมาคือ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวง แรงงาน (รง.) ตามลำดับ ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน รองลงมาคือ การเคหะแห่งชติ (กคช.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามลำดับ
จำนวนเรื่องร้องทุกข์และผล การดำเนินการ ของหน่วยงานที่ได้รับการประสานงานการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ให้แก่ ประชาชน โดยเรียงตามลำดับจากมากที่สุด 3 ลำดับแรก (เฉพาะประเด็นเรื่องร้องทุกข์เรียงตามลำดับจากมากที่สุด 3 ลำดับแรก) ดังนี้
1.ตช. ได้แก่เรื่อง กล่าวโทษหรือร้องเรียนข้าราชการตำรวจ รองลงมาคือ เหตุเดือดร้อนรำคาญ และยาเสพติด ตามลำดับ
2
สธ. ได้แก่เรื่อง การรักษาพยาบาล รองลงมาคือ กล่าวโทษหรือร้องเรียนบุคลากรทางการแพทย์ และระบบการให้บริการของสถานพยาบาลตามลำดับ3.รง. ได้แก่เรื่อง การขอให้จัดหางาน รองลงมาคือ ค่าจ้างและสวัสดิการ และประโยชน์ทดแทน ตามลำดับ
การแต่งตั้งผู้ ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.)คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ กระทรวงสาธารณสุขเสนอยืนยันให้
นายเสรี หงษ์หยก รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติหน้าที่ผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของกระทรวงสาธารณสุขต่อไป
18 พฤษภาคม 2553ข้อเสนองบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าประจำปีงบ ประมาณ พ.ศ. 2554
งบอัตราเหมาจ่ายสำหรับ ประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
(
อัตราเหมาจ่ายรายหัว เท่ากับ 2,546.48 บาท/ประชากร) ทั้งนี้
ไม่รวมจำนวนประชากรที่จะลงทะเบียนเพิ่มขึ้น
ค่าตอบแทนบุคลากรด้านสาธารณสุขส่วนเพิ่ม ให้ศึกษา วิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์การจ่ายค่าตอบแทน กลุ่มบุคลากรและความเหมาะสมในการจัดสรรงบประมาณให้รอบคอบและเป็นธรรม โดยมีสำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย และให้สำนักงบประมาณจัดเตรียมวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จำนวนหนึ่งไว้ในงบกลางเมื่อได้ข้อยุติแล้ว จึงขอรับจัดสรรงบประมาณต่อไป
ส่วนงบบริหารจัดการของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และสอดคล้องกับภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในการรับผิดชอบการสร้างหลัก ประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยมิต้องกำหนดเพดานสัดส่วนงบบริหารจัดการต่องบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่ง ชาติ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ