การ ปฏิรูประบบการแพทย์ แบบการแพทย์พอเพียง
พญ.เชิด ชู อริยศรีวัฒนา
กรรมการ แพทยสภาวาระพ.ศ. 2546-2548และวาระพ.ศ.2548-2550
ปัญหา วิกฤติในระบบบริการทางการแพทย์ไทย (Crisis in Thailand Medical Services)
ปัจจุบัน นี้ มีปัญหาวิกฤติในวงการแพทย์ไทยที่เริ่มมาจากการประกาศใช้พ.ร.บ.หลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ที่ทำให้ประชาชนไทยสามารถมาพบแพทย์เพื่อขอรับการตรวจรักษา สุขภาพได้โดยไม่ต้องจ่ายเงินเลย หลังจากการประกาศใช้พ.ร.บ.นี้ ทำให้จำนวนผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่า ทำให้ภาระงานของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆเพิ่มขึ้นอย่าง มาก จำนวนผู้ป่วยมาตรวจรักษาที่โรงพยาบาลระดับต่างๆเพิ่มเป็น 183ล้านครั้งต่อปี(เฉพาะผู้ป่วยนอก ที่ไม่ต้องนอนพักรักษาตัวใน โรงพยาบาล) และยังมีผู้ป่วยที่ต้องรับการผ่าตัด ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกปี ละประมาณ.....ล้านคน แต่มีแพทย์ทำงานเหล่านี้เพียง 10,000 คน และแพทย์ลาออกจากระบบราชการอีกปี ละ ... คน ทำให้แพทย์ของกระทรวงสธ.ต้องทำงานตรวจผู้ป่วยเพียงคนละ 2-4 นาที และมีเวลาทำงานถึงสัปดาห์ละ 90-120 ชั่วโมง เสี่ยงต่อผลกระทบอันร้ายแรงของสุขภาพของตนเอง เสี่ยงต่อความประมาทเลินเล่อ เสี่ยงต่อความผิดพลาด และเสี่ยงต่อความไม่เข้าใจของผู้ป่วย เสี่ยงต่อความสัมพันธ์ที่เลวร้ายกับ ผู้ป่วย เสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน ฟ้องร้อง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ผิดๆถูกๆ เสี่ยงต่อการต้องหาเงินมาจ่ายค่าเสียหาย และที่สำคัญที่เป็นความเสี่ยงที่น่ากลัวที่สุดคือ เสี่ยงต่อการเป็น “อาชญากร ในคดีอาญา” โดยไม่ใช่นิสัยสันดาน และเสี่ยงต่อการถูกจำคุก
ในขณะที่แพทย์มีความเสี่ยงต่างๆอันน่าสะพรึงกลัวนี้ ประชาชนที่มารับการตรวจหรือดูแลรักษาจากแพทย์นี้ ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากการที่แพทย์มีเวลาน้อยเกินไปในการใช้ดุลยพินิจในการสั่งตรวจ และการสั่งการรักษา อาจทำให้เกิด “ความ ผิดพลาด” โดยไม่ตั้งใจ หรือได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากความขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญ บุคลากรเหนื่อยล้าเนื่องจากอดนอนทำงานทั้งคืนแล้วยังไม่ได้นอน หลับพักผ่อนก็ต้องมาทำงานดูแลรักษาผู้ป่วยอีก เสี่ยงต่อดุลพินิจของแพทย์ที่อาจผิดพลาดได้ง่าย ขาดยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยี ขาดเตียง ขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพในเบื้องต้นของตนเอง ขาดหน้าที่ที่จะต้องร่วมมือกันสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และรักษาสุขภาพในเบื้องต้นเอง ทำให้ประชาชนมาใช้บริการมากมาย ไม่ตระหนักในคุณค่าการรักษาและยา เพราะเป็นของฟรี อยากจะมาขอยาใหม่ ขอตรวจใหม่เมื่อไรก็ต้องได้ ยิ่งเพิ่มภาระงานของบุคลากรมากขึ้น เพิ่ม การใช้ยา เวชภัณฑ์และใช้เทคโนโลยีเกินความจำเป็น เป็นการเพิ่มภาระงบประมาณของรัฐบาลที่เอามาจากภาษีของประชาชนที่ มีแต่จะต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นๆทุกๆปี
แนว ทางแก้ปัญหา
ควร ปรับปรุงระบบบริการทางการแพทย์ใหม่ ให้เป็นการแพทย์แบบพอเพียง คือบริการแบบสายกลาง มีเหตุมีผล มี ภูมิคุ้มกันความเสี่ยงต่อทั้งผู้ทำงานและประชาชนที่มารับบริการ เพื่อ ให้เกิดมาตรฐานทางวิชาการทางการแพทย์ เพื่อความปลอดภัยของประชาชนและเกิดการพัฒนาที่มั่นคงยั่งยืน ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุขและมีสุขภาพดี
ข้อ เสนอเบื้องต้นดังนี้
สิ่ง สำคัญอันดับหนึ่งคือ เปลี่ยนแปลงความคิดและทัศนคติของผู้บริหารที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ในการจัดระบบบริการทางการแพทย์ หรือเปลี่ยนตัวผู้บริหาร ต่อไปเป็นข้อเสนอเบื้องต้นในการแก้ปัญหาดังต่อไปนี้คือ
1.ประชาชน ต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ใคร ไม่ดูแลรักษาสุขภาพตัวเองและเจ็บป่วยบ่อยๆ ควร ต้องจ่ายเงินค่ารักษาเพิ่มเติม (หลักการเหมือนการประกันสุขภาพเอกชน ตัว อย่างเช่นถ้ามาโรงพยาบาลมากกว่าปีละ 6 ครั้ง ต้องจ่ายเงินในครั้งที่เกินเอง หรือถ้าต้องนอนรักษาในโรงพยาบาลมากกว่าปีละ 15 วัน ก็ ต้องจ่ายเงินเองในวันที่เกิน เป็นต้น
หลัก การนี้อาจไปคิดใหม่ได้ แต่ จะทำให้ประชาชนระมัดระวังในพฤติกรรมของตนเองมากขึ้น ไม่ มาหาแพทย์บ่อยเกินไป ช่วยลดภาระแพทย์และโรงพยาบาลได้ในระดับหนึ่ง
2.ระบบ บริการทางการแพทย์ที่มีอยู่ 3 ระดับ แล้ว ควรจัดให้มีมาตรฐานทางการแพทย์ตามระบบจริงๆ ดังนี้
2.1 ระบบ ปฐมภูมิควรไม่ต้องรับผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษา ยกเว้นการนอนสังเกตอาการ ถ้าจำเป็นต้องนอนรักษนาน ควรส่งต่อไประดับทุติยภูมิ
แพทย์ ประจำโรงพยาบาลนี้ควรเป็นแพทย์ทั่วไป อย่างน้อย 3-4 คน
2.2 ระบบ ทุติยภูมิ รับผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล โดย ได้รับการดูแลรักษาจาก แพทย์เฉพาะทางเช่น สูตินรี เวชกรรม ศัลยกรรม กุมาร เวชกรรม อายุรกรรมฯลฯ โดย ต้องมีแพทย์เฉพาะทางอย่างน้อยแผนกละ 3-4 คน เพื่อ จะได้ผลัดเปลี่ยน กันอยู่เวรนอกเวลาราชการและเวลาวิกาลด้วย
2.3 ระบบ ตติยภูมิ รับผู้ป่วยอาการหนักที่ต้องการความรู้ความเชี่ยวชาญของ แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญในระดับต่อยอดเช่นอายุรกรรมโรคไต โรคทรวงอก ฯลฯ ต้อง การพยาบาลและบุคลากรอื่น ที่มีความรู้ทางวิชาการและเทคนิคระดับสูง
และ ต้องการเครื่องมือ เทคโนโลยีระดับสูง ทันสมัยเช่นเดียวกัน ซึ่ง สมควรเรียกว่าโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ (Hospital and Medical Center) และ แพทย์ในแต่ละสาขาก็ควรมีอย่างน้อย3-4 คน เช่นเดียวกัน เพื่อ จะได้ทำงานเป็นทีมและผลัดเปลี่ ยนกันอยู่เวรได้
3.การ จัดสรรบุคลากรประจำโรงพยาบาลต่างๆ ควรดูตามชนิดของโรงพยาบาลและสถิติจำนวนผู้ป่วย ที่มาโรงพยาบาล ไม่ ควรดูตามจำนวนประชาชนในพื้นที่ เพราะจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลอาจไม่เป็นสัด ส่วนเดียวกัน กับ จำนวนประชาชนตามสำมะโนครัว ไม่ว่าบุคลากรระดับใดหรือประเภทใด
4.สภา วิชาชีพควรกำหนดมาตรฐานการทำงานของแต่ละวิชาชีพนั้นๆ และ ควรทำให้ได้จริง เพื่อประกันคุณภาพมาตรฐานการทำงานนั้นๆ เช่น แพทย์ ไม่ควรทำงานติดต่อกันเกิน 16 ชั่วโมง ควรหยุดพักอย่างน้อย 8 ชั่วโมง และ ควรใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที ในการตรวจรักษาผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยนอก และ ถ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญสาขานั้น ห้ามรักษาผู้ป่วย เพราะ เสี่ยงอันตรายทั้งผู้ป่วย (อาจตายได้ซัก 10%) และ แพทย์ (อาจ ถูกตัดสินจำคุก)
5.การ เพิ่มแรงจูงใจให้บุคลากรอยากทำงานในโรงพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข เช่น การเพิ่มเงินเดือนและค่าตอบแทนการทำงานนอกเวลาราชการ ให้ เหมาะสมกับคุณค่าของงานและความรับผิดชอบของวิชาชีพ และ ใกล้เคียงกับค่าตอบแทนของวิชาชีพเดียวกันในภาคเอกชน