เรื่อง ขอให้ทบทวน ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...
ตาม ที่ร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...ได้ผ่านมติ ครม ไปเมื่อวันที่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๓ นั้น และ ขณะนี้ได้ผ่าน วิปรัฐบาลแล้ว รอบรรจุลงวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎร
ทาง แพทยสภา แพทยสมาคม และ หลายหน่วยงานมีความกังวลใจมากเพราะ ร่างนี้ถูกปรับเปลี่ยนไปจากร่างที่ คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาโดยรอบคอบ และใช้เวลาประชุม ราว3 ปี ประชุม ราว 50 ครั้งโดยเชิญผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้ความเห็น
และ ในท้ายที่สุด ทางภาค NGO ได้ ขอเข้าพบ ท่านรัฐมานตรี และยื่นข้อเสนอให้เปลี่ยนแปลงหลายมาตรา กลับไปเป็นแบบเดิมเช่นที่เสนอมา 3 ปีก่อนโดยไม่คำนึงถึงข้อพิจารณาของทางคณะกรรมการกฤษฎีกาและความเห็นหน่วยงาน ต่างๆตามแนบท้าย ที่มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุล ความเป็นธรรม และ ความเป็นไปได้จริงเพราะมีเรื่องของงบประมาณเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
แพทย สภา ได้มีมติในการประชุมวันที่ 8 เมษายน 2553 ให้ทำหนังสือ เรียน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเพื่อทักท้วงกรณีดังกล่าว ในประเด็นหลัก ดังเอกสารแนบ
เนื่อง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พรบ.นี้มีเป็นจำนวนมาก และ อำนาจพรบ.นี้ครอบคลุมมากอย่างไม่เคยมีมาก่อน ดังนั้นจะส่งผลกระทบต่อสถานพยาบาลใน 5 กระทรวงนอกเหนือจากกระทรวงสาธารณสุข ทั้ง ทีมีสภาวะปัญหาที่แตกต่างกัน ทุกที่ต้องมีการตั้งงบประมาณมารองรับ ไม่นับรวม ภาคเอกชนทั้ง โรงพยาบาลและคลินิกแพทย์ ทันตแพทย์ ที่ต้องมาเกี่ยวด้วย โดยยังไม่ทราบ
ตลอด จนปัญหาความเป็นธรรมของคณะกรรมการที่ถูก NGO ตัดสภา วิชาชีพที่เป็นผู้แทนที่มาจากแพทย์ พยาบาล เภสัช ทันตแพทย์ทั่วประเทศออก ทั้งที่เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะวิชาทางการแพทย์ พยาบาล เภสัชกรรม ทันตกรรมและสาธารณสุข ล้วนต้องการพื้นความรู้ในการพิจารณาวางระบบบริหาร เพื่อความเข้าใจที่เป็นธรรมในการพิจารณากรณีต่างๆทางการแพทย์ ไม่อาจให้ผู้ไม่มีความรู้ตัดสินด้วยการมองภาพภายนอกด้วยความรู้สึกได้และ ยิ่งเป็นผู้พิจารณาเงินช่วยเหลือ หรือความผิดของบุคลากรทางแพทย์ ยิ่งน่าจะก่อให้เกิดปัญหามากขึ้น แม้แพทย์เองต่างสาขายังต้องปรึกษาไปยังสาขาที่ตรงกับโรค(ปัจจุบันแพทย์มี 75สาขา/อนุสาขา)
ทั้งนี้ข้อมูลต่างๆได้แนบมาแล้วใน e-mail ดังนี้
1. พรบ.ฉบับที่ผ่าน ครม. เป็นฉบับที่ถูกแก้ไขตาม NGO แล้ว
2. ความเห็นของกฤษฎีกาที่อ่านรายมาตราจะบอกว่า NGO ขอแก้อันใดบ้าง และ กฤษฎีกา แก้ให้ทั้งที่พิจารณาไว้ดีแล้ว แต่ เพราะ NGO ขอผ่านกดดันรัฐมนตรีจึงได้แก้ไขให้ (โดยไม่ใช้เหตุผล หรือดูประโยชน์ของประเทศชาติ ทั้งที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณามา 3 ปี เชิญคนประชุม เป็นร้อยคนจากหลายหน่วยงาน ประชุมกว่า 50ครั้ง คิดอย่างรอบคอบ กลับถูกตัดออกไป)
3. พรบ.ฉบับที่กฤษฏีกาแก้ไขมาให้ฉบับผ่านการประชุม 3ปี ที่ NGO ก็เป็น กรรมการในชุดนี้ด้วยและประชุมมาตลอด
4. จดหมายแพทยสภาไปเลขา ครม.ฉบับ 1 เพื่อคัดค้าน ธันวาคม 2552
5. จดหมายแพทยสภาไปเลขา ครม.ฉบับ 2 เพื่อคัดค้าน มติ ครม.เมษายน 2553
(ฉบับ ที่ 4-5 จะเป็นการสรุปปัญหา)
ทั้ง นี้เนื่องจากผลกระทบจะเกิดในวงกว้างมาก พรบ.นี้ มีเจตนารมณ์ที่ดี หากแต่วิธีปฏิบัติในเนื้อหาที่ต้องพิจารณารายละเอียดให้เป็นไปได้จริง มีความสำคัญมาก หากออกมาแล้ว ความสัมพันธ์ไม่ดีขึ้นขณะที่ต้องจ่ายเงิน สมทบลงไปเป็นจำนวนหลายพันล้านต่อปี โดยภาษีและเก็บจากสถานพยาบาลทุกสังกัด ทุกกระทรวง ทั้งที่คดีต่างๆยังฟ้องร้องต่อได้ ย่อมไม่เป็นการบรรเทาผลร้ายใดๆ จึงต้องขอให้ศึกษาให้รอบคอบ และการตัดออกบางมาตรา ของ NGO ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณามา 3 ปี ตามความเห็นที่มาร้องเรียนขอเพียงในวันเดียว ย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่จะรอบคอบรัดกุมไปกว่าแนวทางของ คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดพิเศษนี้ได้ จึงสมควรนำมาพิจารณาร่วมกันด้วย
แนวทางจึงต้องร้องขอให้ท่านประธานวิปรัฐบาล สส.วิทยา แก้วภราดัย กรุณาช่วยรับฟังความเห็นความเดือดร้อนของแพทย์ทั่วประเทศที่จะเกิดขึ้นด้วย และ ชะลอการผ่านกฎหมายนี้โดยขอให้ศึกษาผลกระทบให้รัดกุมจาก ผู้มีส่วนร่วมจริงๆ มิใช่เพียงกระทรวงสาธารณสุข (ที่มีแพทย์ 12,500คน)และ สปสช.ที่มาชี้แจง เพราะสถาณการณ์ฟ้องร้อง ร้องเรียนใน โรงพยาบาล กลุ่มอื่น(ที่มีแพทย์ ราว 25,000คน) เช่น ทหาร ตำรวจ มหาวิทยาลัย ต่างๆ 18 แห่ง แม้กระทั่งเอกชน นั้น ต่ำกว่า ในกระทรวงสาธารณสุข.ชัดเจนและมีกลไกดำเนินการเองทั้งสิ้นแล้วไม่ควรบังคับมาผูกทั้งที่ปัญหาไม่ได้เกิดที่นั้น และยังคาบเกี่ยวไปยัง ค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ (6-7 ล้านคน)และ กองทุนประกันสังคม (8ล้านคน) ที่ยังอาจไม่ทราบรายละเอียดดีพอ และความสมดุลของกรรมการก็ไม่ชัดเจน และยังฟ้องต่อได้ หลังได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ทั้งนี้ แพทยสภาอยากให้กฎหมายนี้เกิดขึ้นมาแล้วมีผลดีต่อทุกฝ่ายดังเจนตารมณ์ผู้ร่าง จริงๆ
7 พค.2553