ต่อมาเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากวิชาชีพต่างๆ (Luncheon Symposium) ซึ่งดำเนินการโดยนพ.สมศักดิ์ เจริญชัยปิยกุล กรรมการแพทยสภา ที่กล่าวว่า วัตถุประสงค์จริงๆของการจัดสัมมนาในวันนี้ก็คือว่า อยากให้ สปสช.รู้ว่าตอนนี้มีผลกระทบอย่างไรกับภาคผู้ให้บริการโดยในวันนี้ทาง สปสช. ก็ได้ส่ง อ.ประทีบมารับฟัง เพราะนั้น ผมคิดว่าถ้ามีผู้ป่วยหรือว่าประชาชน แพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพ มาร่วมครบทั้ง 3 อย่างนี้ ก็ย่อมจะได้รับฟังข้อมูลรอบด้าน การเปรียบการรักษาในระบบสปสช.เหมือนโรงเจก็เพราะทุกสิ่งทุกอย่างฟรีหมด โดยมีคนมารักษามากขึ้นๆ การบริการก็คงจะมีคุณภาพลดลง โรงพยาบาลก็คงต้องเพิ่มเงินจากแหล่งอื่นมาช่วย
นพ.ไชยวัฒน์ ภูติยานันท์ ประธานองค์กรแพทย์โรงพยาบาลเชียงคำ เป็นหัวหน้าแผนกสูตินรีเวช โรงพยาบาลเชียงคำเป็นโรงพยาบาลทั่วไป มี 225 เตียง กล่าวโดยสรุปว่า
1.พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทำให้มีผู้ป่วยมาโรงพยาบาลมากขึ้นทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน โรงพยาบาลชุมชนใกล้เคียงก็ไม่ทำคลอด ไม่ผ่าตัด ส่งมาที่โรงพยาบาลทั่วไป(เชียงคำ)มากขึ้น
2.ภาระงานของแพทย์มากขึ้น ทั้งภาระในการตรวจรักษา ผ่าตัดผู้ป่วยทั้งในเวลาและนอกเวลาราชการ ต้องควบเวร (แต่ค่าเวรก็ไม่ได้ครบ) และยังมีงานพัฒนาคุณภาพ งาน 5 ส. งานบริหาร
3.งบประมาณในการทำงานไม่พอ ส่งแต่ผู้ป่วยแต่เงินไม่ส่ง การจ่ายค่าตอบแทนบุคลากรก็เป็นภาระกับงบประมาณ
อยากให้แก้ปัญหาบุคลากร ภาระงาน และงบประมาณมาช่วยให้ระบบอยู่ได้