ผู้เขียน หัวข้อ: การบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขในประเทศไทย-2-สปสช.เหมือนเนื้องอก  (อ่าน 2830 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
คำถามจาก อาจารย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์

 ข้อ ที่ 1.ส่วนตัวผมทำงานเกี่ยวกับหลักประกันมา อยู่หลายหน้าที่ เข้ามาอยู่ก็ตั้งแต่ปี 45 ผมมีความรู้สึกว่าพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้ประโยชน์กับประชาชน  เป็นสิ่งที่ดีสิ่งแรกก่อน
แต่สิ่งที่ 2 ภาษาแพทย์ คือ complication ( สิ่งแทรกซ้อน) จากประสบการณ์ของเรามันเยอะมา  แต่เราไม่เคยไป แก้ไขมันปล่อยให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ฉะนั้นเราต้องไปตั้งต้นใหม่ทำอย่างไรให้พรบหลักประกันให้มีผลแทรกซ้อน  ให้มีโรคแทรกซ้อน และพิษของมันน้อยลง ต้องล้างพิษให้ได้  ล้างแทรกซ้อนให้ได้  มันมีแต่มันมีฤทธิมาก ฉะนั้นจะไปล้างมันทั้งหมดไม่ได้  เอาแต่ความดี ของมันไว้ เอาพิษของมันออกไป

ผมอยากเรียนถามว่าถ้าอาจารย์ 1. พรบ.เรื่องหลักประกันอาจารย์จะแก้ไขหมวดไหนมาตราอะไรบ้าง

2 .ประเด็นที่สอง .อาจารย์บอกว่าบริการสาธารณะ  อาจารย์ พูดถึงตำรวจ  อาจารย์พูดถึงโรงเรียน ผมมองว่ามันไม่เป็นธรรม  คุณรักษาไม่ต้องพิสูจน์ถูก ผิด  กันเงิน 1% ของงบประมาณไว้จ่าย ลูกผมสอบตก  ไม่ต้องพิสูจน์ว่าลูกผมดีหรือไม่ดี ก็ให้กันไว้ 1% ผู้ร้าย มาขึ้นบ้านผมแล้วตำรวจตามหาไม่ได้  ต้องให้กัน 1% ที่เหลือเบื้อง ต้นถูกต้องไหม  อย่าไปยุ่งกับการสาธารณสุขอย่างเดียวเพราะว่าบริการสาธารณะมีมาก

ประเด็นที่ 3 การจ่ายเงินช่วยเหลือ 1% ของงบประมาณทั้งหมด อาจจะเป็นปัญหาต่องบประมาณในอนาคต เพราะเงินช่วยเหลือเบื้องต้นต้องจ่ายมากขึ้นทุกปี

ปีแรก 9 ล้าน ไล่มาเรื่อย ปีสุดท้าย 52 มา 80 กว่าล้าน  ปีนี้น่า จะไปถึง 100 ล้าน   มันไต่เรื่อยๆ ปัญหา ผมคงกลับไปที่อ.สุกฤษฎ์ว่าจะแก้ตรงนี้แก้อย่างไร แล้วส่วนการล้างพิษของมันจะต้องทำอย่างไร สิ่งที่ผมอยากล้างพิษ เราล้างอันแรกคือการเข้าถึงบริการประชาชน  มีคนไข้ที่มา 100 หน จริง ๆ ถ้าเราจัดบริการดีๆ โดยไม่คำนึงถึงการที่จะต้องให้คนไข้เจอหมอทุกคน  เวลาผมไปเยี่ยมสถานีอนามัย  แพทย์ไม่ต้อง รักษาก็ได้ ผมก็อยากเสนอการล้างพิษก็คือว่าคนไข้ทุกคนต้องมีการตามขั้นตอน  ไปตามสถานีอนามัยก่อน ไม่ดีแล้วต้องมีใบสั่งเขามาเพื่อโรงพยาบาลชุมชน  ฉะนั้น เราก็จะลดภาระของโรงพยาบาลให้ลดลง  แล้วคนไข้ ดีขึ้น  ทุกคนก็รู้ปวดหัวตัวร้อน  เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยสามารถดูได้ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ถ้าไม่ดีขึ้นค่อยส่งมาเข้ารพ.ชุมชน  จะเป็นประโยชน์มากกว่า  ข้อเสนอแก้ไขก็คงจะมี แค่นี้

อ.สุกฤษฏิ์(ตอบคำถาม)

ประเด็นแรกจะแก้ไขอย่างไร  ในสายตาผม ผมสนใจกฎหมายปกครอง  เขาพูดถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับความสำคัญระหว่างองค์กรในการบริหารราชการแผ่นดิน วันนี้เราต้องยอมรับว่าการที่มี พระราชบัญญัติ ขึ้นมา เหมือนเนื้องอก และ ไม่สามารถคอนโทรลได้  ไม่มีประเทศเสรีประชาธิปไตย ที่ไหน  ที่คณะรัฐมนตรี ไม่สามารถคอนโทรลไม่สามารถสั่งการหน่วยงานตัวเองได้  มาเจอสปสช. ซึ่งแตกต่างกับกทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เยอะมาก  กทช.เขาเป็นองค์กรอิสระ วันแรกเขาประกาศปุ๊บ ว่าเขาจะดำเนินกิจกรรมภายใต้นโยบายของรัฐบาลชัดเจน   สปสช.เขา มีเงินมากมหาศาล  เป็นองค์กรทำหน้าที่บริการสาธารณะ  สนับสนุนเรื่องการเงินสาธารณสุข  ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างไร  มองบทบาทตัวเองคือใคร  เป็นคนจ่ายเงินแต่ตอนนี้ทำอย่างไร   คนที่มีหน้าที่จ่ายเงินทำอย่างไร  สถานะของสปสช.ควรจะเท่ากับกรมในกระทรวงสาธารณสุขต้องสามารถตอบสนองปลัดกระทรวงรัฐมนตรีได้ ถ้าไม่มีจุดเกาะเกี่ยวทางกฎหมายต่อกันอย่างนี้  รัฐมนตรีของบประมาณมา สปสช.ปฏิเสธ ผมคิดว่ามันไม่น่าจะถูกต้องโดยการปกครองระบบประชาธิปไตย  สปสช.คนมาเป็น บอร์ดไม่เคยผ่าน ไม่เคยได้รับการคัดเลือกจากสว.สส.ไม่มี ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรงต่อประชาชน   แต่ฝ่ายการเมืองจะทำอย่างไร  รัฐมนตรี ก็ สส.  สส.ก็ สส.ทั่วประเทศ สส.ของคนไทย ทั้งประเทศ  อันนึ้คือมุมมองของการถ่ายอำนาจจุดเกาะเกี่ยวไม่มี  องค์กรลักษณะนี้ไม่ควรจะมี  เราจะเห็นว่ากรณีของกทช.ก็ดี เมื่อเทียบเคียงกันคณะกรรมการ  สปสช ไม่เกิดการใช้ร่วมกันกับคณะกรรมการสปสช.ไม่สามารถทำได้ ก็เป็นอุปสรรคต่อการบริหารราชการแผ่นดิน  เราไปเลียนแบบลอกเลียนแบบมาจากตะวันตก  ว่าองค์กรประเทศน่าจะเวิร์ค  เพราะสังคมไทย เป็นสังคมของการเอื้อประโยชน์ต่อกันพวกพ้อง  ใครจะเป็นกรรมการที่นั่นที่นี่ก็ พวกพี่น้องกันทั้งนั้น  ค่อยไปค่อยมาก็มีการฟ้องร้องกัน   คำถาม แรกตอบแล้วว่าจะทำอย่างไร  ไม่ควรมีควรจะทำให้หายไป

ประเด็นที่สอง การแก้กฎหมายก็มีช่องทางตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว อาจจะริเริ่มโดยประชาชน หรือบุคลากรหรือกระทรวงก็ทำไป  ฝ่ายการเมืองก็ริเริ่มเอง  แต่ว่ากฎหมายฉบับนี้  ถ้าจะแก้ไขก็ต้องให้คนทั้งมวลตกผลึก  คนหรือบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขต้องตกผลึกเรื่องนี้  ต้องเข้าใจว่าวันนี้พูดออกไปก็หดหู่   ต้อง ตกผลึกเสียก่อน เดี๋ยวจะกลายเป็นว่าแย่งอำนาจใช้จ่ายเงิน  ไม่ ใช่  ในทางกฎหมายก็ไม่ยอมปล่อยตรงนี้อยู่ ไม่สามารถกำหนดทิศทางได้เลย  ไม่สามารถตอบสนองถึงการปกครองระบบประชาธิปไตย ได้   ก็ดูแลงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข ดูแลฐานเงิน  ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวกับสภา รัฐมนตรีเป็นผู้กำกับดูแล   ใช้ดุลพินิจก็ไม่ได้   ไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชา ไม่พอใจใครใน  ใครทำอะไรไม่ถูกต้อง รัฐมนตรีไปตั้งคณะกรรมการสอบ สปสช.  ไม่ได้เลย เขาอยู่นอกวงของข้าราชการ หรือว่านอกวงของพรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เป็น บุคลากรในประเทศซึ่งแปลก เป็นองค์กรมหาชนก็ไม่ใช่   แต่เป็นหน่วยราชการแน่นอน ถูกปกครองโดยศาลปกครอง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เมษายน 2010, 10:13:44 โดย pradit »