คนสุดท้ายคือนพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการนำระบบ 30 บาทมาใช้เป็นครั้งแรกในรัฐบาลทักษิณ
ได้กล่าวยอมรับว่าระบบ 30 บาทมีทั้งผลดีและผลเสียที่จะต้องได้รับการแก้ไขและพัฒนาต่อไป และกล่าวอ้างว่าประเทศไทยมีข้อบกพร่องเรื่องข้อมูลสารสนเทศ(สถิติและข้อมูล ผู้ป่วยหรือข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งข้อมูลด้านการเกษตร และอื่นๆ) ที่ไม่ทันสมัย ไม่ตรงกัน และไม่ถูกต้อง ทำให้เป็นปัญหาต่อการบริหารจัดการรวมทั้งการที่ระบบ 30บาทไม่ดีพอก็เป็นเพราะข้อมูลสารสนเทศไม่ดี
แต่ก็ได้ยอมรับว่ามีความขาดแคลนด้านงบประมาณ บุคลากรสมองไหล เกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างแพทย์และประชาชนมากขึ้น มีการฟ้องร้องมากขึ้น และยอมรับว่าประชาชนที่ได้รับยาและการรักษาฟรีนั้น ไม่ตระหนักถึงคุณค่าของยาและการรักษา มาใช้บริการเกินความจำเป็น และไม่ต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพชองตนเองและผลักภาระมาให้แพทย์และบุคลากรทาง การแพทย์มากเกินไป ควรจะให้ประชาชนมีความรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพตนเองด้วย อาจจะต้องให้ประชาชนร่วมจ่าย เพราะเมื่อรักษาฟรีก็จะทำให้มีคนแออัดมากขึ้นโดยได้กล่าวว่ามีหลายประเด็น ที่จะต้องพัฒนาต่อไป ได้แก่
1.ให้ประชาชนร่วมจ่าย
2.คุณภาพของการรักษาพยาบาล ควรให้มีการทำ CPG( Clinical Practice Guideline) และให้มีการใช้อย่างกว้างขวาง โดยCPG ในแต่ละสถานที่ ก็อาจจะแตกต่างกันออกไปให้เหมาะสมกับสถานที่และขีดความสามารถของโรงพยาบาล แต่ละระดับ และส่งเสริมให้มีมาตรฐานทางการแพทย์
3.การลงทุนด้านการแพทย์ จะเน้นเรื่องการลงทุนเพิ่อพัฒนา
4. วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองไม่เหมือนกัน ในปี 2540 มีเงินคงคลังน้อย แต่ในปี 2550 เงินบาทแข็งค่า จึงควรมีการปฏิรูประบบการเงินและบัญชีในระบบประกันสุขภาพและระบบประกันสังคม รวมทั้ง สารสนเทศ และการพัฒนาเครือข่าย การจัดสรรบุคลากร การส่งต่อให้มีประสิทธิภาพ
5.ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการจัดการกำลังคนด้านการแพทย์ ทำอย่างไรให้แพทย์อยากทำงานกับประชาชน