ผู้เขียน หัวข้อ: นักวิชาการ-อดีต สว. บุก สธ. ค้านถอด ฟ้าทะลายโจร จากเวชปฏิบัติ  (อ่าน 3652 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 10186
    • ดูรายละเอียด
16 ก.ค.2567 นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต พร้อมด้วย นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตสว.กทม. เข้ายื่นหนังถือถึงนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยมี นายกองตรี ดร.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวแทนรับหนังสือในครั้งนี้โดยเรียกร้องให้ระงับแนวทางเวชปฏิบัติในการถอดฟ้าทะลายโจรออกจากบัญชีเวชภัณฑ์ของกรมการแพทย์

นายปานเทพ อธิบายตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ว่า ร่างกฎหมายอาจจะมีกระบวนการในการล็อกสเปค ผูกขาด กัญชา หรือน้ำมันกัญชาไว้กับกลุ่มทุนใหญ่และโรงพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งใน พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 7 (ฉบับเดิม) นั้นระบุว่า ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่าย ให้รวมถึงผู้ที่ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย วิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
แต่ในประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 32 ระบุเพียงแต่ว่าการผลิตนำเข้า ส่งออกจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุออกฤทธิ์เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ เวชกรรม ทันตกรรม สัตวแพทย์ขั้น 1 เภสัชกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์หรือสาธารณสุขอื่น โดยไม่ได้ระบุถึง แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้าน ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้านถือเป็นกำลังหลักในการที่จะจ่ายน้ำมันกัญชาให้กับผู้ป่วย

นอกจากนี้ในมาตรา 40 ยังระบุว่า ในขั้นตอนของการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่าย ต้องมีเภสัชกรอยู่ประจำ ควบคุมกิจการตลอดเวลา นั่นหมายความว่า ในกระบวนการของเกษตรกรที่ปลูก คลินิกแผนไทย คลินิกแผนไทยประยุกต์ หรือคลินิกกัญชาที่สามารถจ่ายได้เองโดยแพทย์จะต้องมีเภสัชกรปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลาใช่หรือไม่ ถ้าใช่คนที่ทำได้คงจะมีแต่โรงงานใหญ่ ๆ ที่มีสายการผลิตตั้งแต่ฟาร์ม โรงงานและโรงพยาบาลเอกชน ไม่กี่แห่งเท่านั้น นายปานเทพ กล่าวตั้งข้อสังเกต

นอกจากนี้ก็มีประกาศของกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยที่สามารถสั่งจ่ายยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ที่มิไม่ใช่สารสกัดจากกัญชาหรือกัญชง เป็นอีกข้อหนึ่งที่อาจจะแสดงให้เห็นว่า มีการล็อคสเปคกับกลุ่มนายทุนใหญ่หรือไม่ เพราะมีการกีดกันวิชาชีพทางการแพทย์แผนไทย แผนไทยประยุกต์และหมอพื้นบ้านหรือไม่

กรณีของฟ้าทะลายโจรนั้นเป็นที่น่าสังเกตว่า ในวารสารทางการแพทย์หรือแพทย์ทางเลือกฉบับที่ 1 ระบุว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถลดภาวะปอดอักเสบในผู้ป่วยในติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แถมเป็นยาที่มีราคาถูก มีประสิทธิผลมหาศาล และมีการแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนจนมีประกาศบัญชียาหลักแห่งชาติว่า

ฟ้าทะลายโจร ใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโควิดที่มีความรุนแรงน้อย เพื่อลดอาการไม่ให้รุนแรงซึ่งมีเงื่อนไขสำหรับผู้ที่จะแจกจ่ายยาชนิดนี้ได้ ต้องเป็นผู้ที่ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ดังนั้น ผู้ที่ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนไทยประยุกต์จะไม่สามารถจ่ายยาชนิดนี้ได้ แม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะเป็นยาที่ชาวบ้านสามารถปลูกและหาได้เองก็ตาม

ต่อมาได้มีการประกาศฉบับที่ 27 แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้มีการประกาศเปลี่ยนไป ซึ่งในประกาศฉบับนี้ ฟ้าทะลายโจรยังคงอยู่สามารถใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็กแต่ต้องใช้โดยดุลยพินิจของแพทย์
จนมาถึงประกาศฉบับล่าสุด 5 มิถุนายนที่ผ่านมาแนวเวชปฏิบัติ มีการระบุว่า ไม่ให้แพทย์จ่ายยาฟ้าทะลายโจรให้กับคนไข้และไม่ให้ใช้ในการรักษา ผู้ป่วยโควิด-19

ส่วนยาที่นำมารักษาหรือใช้แทนเป็นยาที่นำเข้าจากต่างประเทศมีราคาหลักหมื่น ซึ่งที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่า ฟ้าทะลายโจร มีคุณสมบัติลดความรุนแรงของผู้ป่วยโควิดได้ทั้งยังมีราคาถูก ในขณะที่ยานำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูง คนไทยจะต้องใช้ยารักษาโรคในราคาที่แพงขึ้น

ในวันนี้จึงมายื่นขอใน 3 เรื่องด้วยกัน
1.ให้ทางกระทรวงสาธารณสุขทำการระงับประกาศแนวทางเวชปฏิบัติฉบับ 5  ออกไปก่อน
2.ขอบันทึกถอดเทปรายงานการประชุมเหตุผลในการถอดฟ้าทะลายโจรออกแต่ยังคงยาฟาวิพิราเวียร์ไว้ และ
3.ของานวิจัยเต็มฉบับที่อ้างว่า เป็นเหตุในการถอดฟ้าทะลายโจร

ดังนั้น ในวันนี้จึงได้ทำร่างมาเสนอกับ กระทรวงสาธารณสุขถือว่า เป็นร่างวัดใจเพื่อลดข้อครหากฎหมาย ที่เอื้อกับนายทุน ซึ่งร่างที่นำมาเสนอวันนี้ไม่มีการล็อคสเปกและไม่มีการกีดกันกันทางวิชาชีพ เป็นการระบุยาเสพติดให้โทษแบบมีเงื่อนไข

หลักการ คือ คุ้มครองคนที่ทำถูกกฎหมายทั้งหมด ทั้งผลิตภัณฑ์วิชาชีพการแพทย์ทุกชนิดไม่มีการล็อคสเปควิชาชีพและผู้ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายตามสมุนไพรควบคุม ตราบใดที่เขาปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ยาเสพติด

หมายความว่า หลังจากนี้การจะจ่ายยาที่มีส่วนผสมของกัญชาหรือกัญชงนั้นจะต้องมีใบจ่ายยาทางการแพทย์มาเท่านั้น แล้ววิชาชีพที่สามารถจะใช้ได้ก็จะเกี่ยวข้องทางการแพทย์เช่น ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพแผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพแผนไทยประยุกต์ หมอพื้นบ้าน และผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ตามกฎหมาย ผู้ประกอบวิชาชีพสัตวแพทย์ รวมถึงแพทย์แผนจีน

ด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าวว่า ทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนในการใช้ฟ้าทะลายโจรในการรักษาและป้องกันตั้งแต่เริ่มต้นเมื่ออาการน้อย ข้อมูลเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ คณะแพทย์ประเทศไทยเองหลายฉบับด้วยกันโดย 3 ปีที่ผ่านมาจนถึง 2 สัปดาห์ที่ผ่านแล้วทั่วโลกตื่นเต้นกับฟ้าทะลายโจรมากเพราะไม่ได้ออกเวชปฏิบัติสำหรับรักษาโควิดไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างไร รวมถึงยังสามารถออกฤทธิ์กับโรคติดเชื้ออื่น ๆ ได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไวรัส rsv เป็นต้น

ในขณะที่ประเทศจีนการใช้ฟ้าทะลายโจรตั้งแต่มีการระบาดของโรคซารส์ 20 ปีที่แล้วและตอนนี้ก็ใช้สมุนไพรจีนที่มีตัวยาแบบเดียวไทย และขึ้นบัญชีเป็นตำกับยาทางการแพทย์ร่วมกับเวชปฏิบัติของแพทย์แผนปัจจุบัน

ส่วนไทยเราถือว่า มีของดีอยู่แล้วมีต้นทุน มีการศึกษาฟ้าทะลายโจรเป็นยาอายุวัฒน์ ดูแลเกี่ยวกับโรคเรื่องเมตาบิลิก เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือดสูง และมีผลต่อสมองด้วย

นางสาวรสนา กล่าวว่า ช่วงโควิดระบาดมีการใช้ฟ้าทะลายโจรอย่างแพร่หลาย หมอแผนปัจจุบันก็ยังใช้ แต่มาถึงวันนี้ โควิดเริ่มจางลง กลายเป็นว่า ถอดฟ้าทะลายโจรจากการรักษาในเวชปฏิบัติ เข้าหลักคำพังเพย ว่า  เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่า "ฟ้าทะลายโจร" ดังนั้น คณะกรรมการฯ ที่ออกหลักเกณฑ์เวชปฏิบัติเช่นนี้ต้องตอบคำถามประชาชน และขอให้นำเอกสาร ข้อมูลต่างๆ จากการประชุมพิจารณาการถอดฟ้าทะลายโจร โดยนำออกมาเปิดเผยเรื่องนี้ให้ชัดเจน

ด้านนายกองตรี ดร.ธนกฤต ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังรับหนังสือในวันนี้ว่า กรณีฟ้าทะลายโจรทางกรมการแพทย์จะนำข้อมูลเอกสารที่ทางผู้ร้องขอเอกสาร โดยจะเร่งให้ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์

ส่วนเรื่องร่างประกาศกระทรวงฯ เรื่องกัญชาที่มีการเพิ่มเติมแก้ไขเข้ามานั้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1.ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามสมควร
2.ในส่วนของตนจะพิจารณาตรวจสอบว่า ข้อเสนอขัดกับประมวลกฎหมายยาเสพติดหรือไม่ เพราะศักดิ์กฎหมายไม่เท่ากัน จะไปขัดกับกฎหมายใหญ่ไม่ได้ ซึ่งประมวลกฎหมายยาเสพติด เมื่อระบุว่าเป็นยาเสพติด ก็ต้องเป็นยาเสพติด แต่กรณีที่ว่าต้องมีเงื่อนไข จะทำได้หรือไม่ ก็ต้องพิจารณาข้อกฎหมายก่อน


Thansettakij
16 ก.ค.2567