ผู้เขียน หัวข้อ: พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ  (อ่าน 2515 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ
« เมื่อ: 23 มิถุนายน 2010, 22:24:47 »
เรียนทุกท่าน

http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=298.msg472#msg472

http://www.thaiclinic.com/cgi-bin/wb_xp/YaBB.pl?board=doctorroom;action=display;num=1277214740

Website ข้างบนทั้ง 2 นี้ จะทำให้ท่านได้ทราบถึงการเสนอร่างพ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งดิฉันจะขอสรุปความไม่เหมาะ สม ที่จะก่อให้เกิด "ความเสียหาย" ต่อวงการแพทย์และสาธารณสุขโดยรวม และผลสุดท้ายประชาชนและประเทศชาติจะเสียหายดังนี้
1.จากหลักการและเหตุผล นอกจากจะอ้างว่าจะช่วยให้ความสัมพันธ์ของผู้ ป่วยแล ะบุคลากรสาธารณสุขดีขึ้น แต่ถ้าอ่านด้วยใจเป็นธรรมแล้วจะพบว่า บุคลากรสาธารณสุข ต้องรับผิดชอบดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน เพื่อเตรียมไว้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้อง ต้นทุกราย และยังต้องจ่ายชดเชยค่าเสียหาย และยังต้องถูกฟ้องร้องต่อศาลได้อีก
เมื่อผู้ร้องขอเงินช่วยเหลือได้รับเงินค่าชดเชยแล้ว จึงจะหยุดการฟ้องคดี หรือยังสามารถไปฟ้องคดีได้อีก และยังเขียนไว้ในมาตรา 45 ว่าศาลอาจจะลงโทษหรือไม่ก็ได้
ข้อสังเกตุ  1.1 มีกฎหมายใดบ้างที่จะกำหนดไว้ได้เลยว่าศาลจะลงโทษหรือไม่ก็ได้
                    1. 2  มีบริการสาธารณะใดบ้างที่ต้องมีเงินประกัน ความเสียหาย โดยไม่ต้องพิสูจน์ถูก/ผิด
                     1.3 มีการแจ้งให้ผู้ที่จะต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน รู้ตัวล่วงหน้าหรือยังว่า นอกจากจะต้องทำงานบริการประชาชนแล้ว ยังต้องจ่ายเงินล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดความเสียหายอีก
                      1.4 กฎหมายนี้ ดูเหมือนว่าผู้มีส่วนได้ คือประชาชน ผู้ที่มีส่วนเสียคือโรงพยาบาล/คลีนิก ร้านขายยา และผู้ประกอบวิชาชีพ
                     1. 5 แต่ผลสุดท้ายแล้ว ประชาชนจะต้องเป็นฝ่ายสูญเสียโอกาสที่จะได้รับ การรักษา ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามี
ประชาชนที่เจ็บป่วยอาการหนัก คาดว่าถ้ารักษาแล้วอาจจะมีโอกาสรอดชีวิต เพียง 50% และมีโอกาสรอดชีวิต 50%(เรียกว่าเป็น/ตายเท่ากัน) แทนที่บุ๕ลากรจะกระตือรือล้นรีบช่วยรักษาให้รอด 50 %  บุคลากรของโรงพยาบาลก็อาจจะไม่รับรักษา เพราะอาจจะตกเป็นจำเลย/ถูกร้องเรียน ให้จ่ายค่าช่วยเหลือและชดเชย  และโรงพยาบาลก็คงไม่เอารถของโรง พยาบาล ไปส่งผู้ป่วยไปต่อยังโรงพยาบาลอื่น คงจะปล่อยให้ผู้ป่วย/ครอบครัวหารถไปเอง เพราะถ้าผู้ป่วยไปตายในรถ ของโรงพยาบาลระหว่างเดินทางต่อไปยังโรงพยาบาลอื่น ก็คงจะต้องจ่ายเงินช่วยเหลือและชดเชย และอาจจะถูกฟ้องศาลอีก
                      1.6 การบังคับเก็บเงินตามข้อ 1.3 ผู้ถูกเรียกเก็บก็คงต้องบวกราคาเข้าไปกับค่าบริการอย่างแน่นอน รัฐบาลก็คงต้องเอาเงินภาษีประชาชน มาจ่ายแทนสำหรับประชาชนในระบบบัตรท องและสวัสดิการข้าราชการ ส่วนระบบประกันสังคมก็คงต้องจ่ายเงินเพิ่มจาก เงินประกันสังคมของลูกจ้าง

2. คณะกรรมการที่ต้องพิจารณาว่า จะจ่ายเงินช่วยเหลือและชดเชยความ เสียหายนั้น ไม่ได้มาจากผู้มีความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุข แต่เป็นผู้คนนอกวงวิชาการแพทย์และสาธารณสุข (เป็น layman ไม่ใช่ professional)   แต่การตัดสินว่าผู้ป่วยควรได้รับการช่วยเหลือและชดเชย นั้น ไม่ได้อาศัยความรู้ด้านวิชาการแพทย์ แต่ใช้การโหวตเสียงข้างมาก (ตามอารมณ์และความรู้สึกของกรรมการ) แล้วผู้ประกอบวิชาชีพจะเอาหลักเกณฑ์ อะไร มาเป็นมาตรฐานในการรักษาผู้ป่วย  สภาวิชาชีพจะสามารถควบคุมการ ประกอบวิชาชีพ ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการหรือควบคุมให้ถูกใจ คณะกรรมการในพ.ร.บ.นี้

3.การยืดอายุความจาก 1 ปีเป็น 3 ปี และเริ่มนับเวลาจากการที่ "ประชาชนทราบความเสียหาย" ไม่ได้เริ่มนับจาก "วันเวลาที่เกิดเหตุการณ์" ซึ่งคงจะยากในการพิสูจน์ข้อ "กล่าวอ้าง" ของผู้เสียหายว่า "ทราบความเสียหาย" เมื่อใด

4.พ.ร.บ.นี้ ขัดต่อหลักนิติรัฐ เนื่องจากตามปกติแล้ว กฎหมายมีไว้เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ในการบริหาราชการแผ่นดินและ การบริการสาธารณะสำหรับประชาชนใ ห้ได้รับการบริการที่ดี มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แต่พ.ร.บ.นี้จะกระทบกับการรักษา ของแพทย์ (ตามเหตุผลดังกล่าวข้างต้น)  และพ.ร.บ.นี้ขัดต่อพ.ร.ก.การบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี และขัดต่อพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้า ที่พ.ศ. 2539 ที่มีอายุความแค่ 1 ปี แต่ในกรณีพ.ร.บ.นี้ ขยายอายุความเป็น 3 ปีถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
    นอกจากนั้น เมื่อเกิดมีการรักษาพยาบาลแล้ว ศาลจะตัดสินลงโทษหรือไม่ก็ได้ เป็นการตั้งธงไว้เลยว่า แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ต้องทำผิดไว้ก่อน
    เมื่อประชาชนไม่พอใจการไกล่เกลี่ย โดยไม่ยอมตกลงรับเงินตามการไกล่เกลี่ย และไปฟ้องศาลเอง ถ้าเป็นคดีที่ศาลเห็นว่าไม่สมควรได้รับเงินชดเชย ผู้ร้องยังย้อนกลับไปขอเงินชดเชยจากกองทุนได้อีก ประชาชนคิดว่าตนเองมีแต่ทางได้ไม่มีทางเสีย แต่ให้ไปอ่านข้อ 1.5 แล้วจะเกิดเหตุการณ์เช่นนั้นจริงๆ
 5. ถ้ารัฐบาลเสนอพ.ร.บ.นี้เข้าสภาเมื่อใด ถ้าทางฝ่ายวิชาชีพเสนอกฎหมายเข้าประกบ  และร่างพ.ร.บ.ของรัฐบาลตกไป เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ขัดต่อหลักนิติรัฐ ตามเหตุผลที่ยกมาเป็นตัวอย่างให้ เห็น รัฐบาลคงต้องรับผิดชอบด้วยการลาออก เพราะแพ้โหวตในสภา เนื่องจากสส.ส่วนมากจะมองเห็นความวุ่นวาย และไม่เป็นธรรม ทางการบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุข ที่จะเป็นผลพวงมาจากการตราพ.ร.บ.ที่ "เลือกปฏิบัติ" แก่ผู้ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนเยี่ยงนี้

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
กลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
คณะทำงานศึกษา และพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี