ผู้เขียน หัวข้อ: การบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขในประเทศไทย-1-นายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์  (อ่าน 3774 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
การบรรยายพิเศษ เรื่องการบริการสาธารณะด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย

โดยนายสุกฤษฎิ์   กิติศรีวรพันธุ์  ประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อความมั่นคง

เราเคยได้ยินได้ ฟัง คำว่า บริการสาธารณะ   ทุกรัฐ ทุกประเทศที่ประชาชนอยู่ร่วมกัน  รัฐต้องมีหน้าที่ใน การจัดทำบริการสาธารณะ คนที่มีหน้าที่ทำจะเป็นเจ้าหน้าที่  ในทางกฎหมาย  เขาเรียกว่าฝ่ายปกครอง   ฝ่ายปกครองก็จะเป็นหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของทุกท่านด้วย    เครื่องมือที่เรามีในการจัดทำบริการสาธารณะก็จะมีมาตรการทางกฎหมาย  มีบุคลากร  มีทรัพย์สิน   และกฎหมายในส่วนอื่นๆ    จะเห็นว่าประเทศเรามีทหาร ทำหน้าที่บริการสาธารณะในการป้องกันประเทศ  มีการ บริการสาธารณะด้านการรักษาความมั่นคงภายใน ซึ่งคือฝ่ายมหาดไทย และตำรวจ  มีการคมนาคม  รวมถึงการสาธารณสุขด้วย  

กลไกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการใช้การบริหาร.... เขาเรียกว่า พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน  ปี  2530    นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการในหน่วย กระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ  มาปี พ.ศ.2545  มีสิ่ง แปลกปลอมเกิดขึ้น  คือทางกฎหมายมวลชนเขาบอกว่าสิ่งเหล่านี้คือสิ่งแปลกปลอม  เกิดสำนักงานหลักประกันสุขภาพขึ้นมา  ไม่ได้มีฐานะเป็นกระทรวง  ทบวง กรม เลย  นายกรัฐมนตรีไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา ของเขา  ในภาคพระราชบัญญัติฉบับนี้เขียนไว้ว่า  ให้มีสำนักงานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ รัฐมนตรี  ในกฎหมายก็คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  กำกับหมายความว่าอย่างไร  ในทางกฎหมายปกครองแท้ๆ กำกับคือดูแลเฉพาะความชอบด้านกฎหมาย  แตกต่างจากคำว่าบังคับ บัญชา   บังคับบัญชาดูความชอบด้วย  ดู เรื่องดุลพินิจด้วย  เป็นเรื่องใหญ่มาก   คือ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถกำหนดนโยบายที่เกี่ยว กับเรื่องของ สปสช.ได้  วันนี้สปสช.ดูกองทุนหลักประกันสุขภาพ  ดูเงิน   ถ้าถามผมวันนี้กระทรวงสาธารณสุขมี มติอะไร  กระทรวงสาธารณสุขมีมติเขียนด้วย กระดาษ   บอกว่ารักษาคนไข้ ส่งเสริมสุขภาพ แต่ในความจริงทำได้ไหม  เอกภาพมันหายไปจากผลของพระราช  บัญญัติฉบับ นี้

                รัฐ ธรรมนูญปี 40, 50  มาเทียบกับสิ่งที่เกิดขึ้น มาเทียบกับสปสช.  ผมให้เทียบกรณีหนึ่ง  กรณี  กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) กทช.รัฐธรรมนูญเขาเขียนไว้ว่าเป็น องค์กรอิสระ ของรัฐ  แต่ว่าสปสช.ไมได้เขียนอย่างนั้น  กทช  เป็นอิสระของรัฐ  แต่ วันแรกที่คณะกรรมการทำหน้าที่เขาออกกฎ  กฎของเขาคือจะปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล  ส่วน สปสช.  ไม่มีส่วนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล แต่ละสมัย ไม่มีเลย ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้  มันเป็นสิ่งแปลกปลอมจริงๆ

ผมกำลังศึกษา เรื่องนี้ประมาณไม่ถึงปี เพราะว่ามันมีสิ่งที่เกิดขึ้น คือ ว่าหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขไม่สามารถให้บริการในการรักษาเกี่ยวกับ โรค.ที่เกิดจากสารพิษ..ในท้องที่จังหวัดสระบุรี....  กระทรวง สาธารณสุข ลงไป มีคณะแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ   ทำงบ ประมาณของกระทรวงลงไป  กิจกรรมพวกนี้หมดสิ้นไปเมื่อ 31 ธันวาคม 2552  ก่อนครบกำหนดเวลารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ท่านวิทยาได้ร้องขอไปที่สปสช.เพื่อของบประมาณมาทำกิจกรรมวันนี้ต่อ เนื่องจากมีคนเข้าข่ายเจ็บป่วยประมาณ 2 หมื่นคน  สปสช.ปฏิเสธ  ทั้งๆ ที่ในกฎหมาย  บอกว่าสปสช.มีหน้าที่ในการจัดหาหน่วย บริการให้กับ ประชาชน   นายกรัฐมนตรีใช้มาตรา 17 และไปตั้ง  ไปตรวจสอบเหมือน กรณีไทยเข้มแข็งที่กระทรวงสาธารณสุขระยะแรก    ว่าทำ ได้หรือไม่

รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขตั้งกรรมการสอบได้ไหม ปัญหาเกิดขึ้นมีหน้าที่กำกับ   สปสช.อาจปฏิเสธว่า  สิ่งเหล่านี้    เขาบอกว่าเขามีกิจกรรมอย่าง อื่นเตรียมไว้รออยู่แล้ว และเป็นเรื่องนโยบายว่าเขาจะทำหรือไม่ก็ได้  เห็นไหมว่ามีปัญหาในเชิงกฎหมาย   มาคาดหวังมาก ว่าบุคคลซึ่งมาจากภาคประชาชนจะมีความรู้ความเข้าใจหรือกระทำสิ่งที่ตอบสนองกับประชาชน  วันเวลาผ่านไปเป็นอย่างนั้นหรือไม่   ข้าราชการประจำถูกกระทบจากแนวความคิดอย่างนี้เยอะมาก    ย้อนกลับไปอีกว่าการจัดการแบบนี้ของประเทศ  จะอะไรเกิดขึ้น ยกกรณีของ  กทช.    กทช.คือกลุ่มคนแบบไหนมารวมกัน  คือคนจากกรมไป รษณีโทรเลขใช่หรือไม่ ความรู้ความสามารถ  ประสบการณ์  คือ กิจกรรมเหล่านี้ใช่หรือไม่  องค์กรเงินเดือนคนละ หลายๆ แสน   แต่กิจกรรมความรู้ความสามารถเท่าเดิมไหม ครับ   เราอธิบายมันตอบโจทย์ไม่ได้  และ มีหลาย ๆ อย่างที่เราพูดกันแบบไม่มีหลักเกณฑ์ เช่น กรณีที่จะมีการจ่ายค่าชดเชย   ให้กับผู้ที่มารักษาพยาบาลแล้วได้ความเสียหายโดยไม่ต้องพิสูจน์ถูกผิด หลักเกณฑ์นี้ไม่มีที่ไหนในโลก   ในสายตานักกฎหมายปฏิเสธเรื่องเหล่านี้  รัฐ จะรับผิดก็ต่อเมื่อผิด  มีบางกรณีที่อาจทำผิดโดยปราศจากความผิด  แต่ถ้าไม่พิสูจน์เลยไม่มีครับ   ถ้าท่านติดตามเรื่อง  ในขณะนี้  แนวความคิดจากกลุ่มคนบางกลุ่มที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขพยายามทำ เรื่องเหล่านี้ขึ้น   จะเป็นปัญหาในอนาคต  

กรณี สปสช.ถ้าบุคลากรในกระทรวงยังไม่ตกผลึก (เข้าใจ แจ่มแจ้ง)   ว่าวันนี้ภารกิจของสาธารณสุขหายไปแล้ว  สปสช.ไม่มีเกาะเกี่ยวทางบังคับบัญชา  ปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่มีอำนาจใด ๆ กับสำนักงานเลย  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นเพียงหนึ่ง ในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ

วันนี้สิ่งที่ น่าเป็นห่วงก็คือว่านโยบายของรัฐบาล   หรือทิศทางในทางการสาธารณสุขของประเทศไม่มีทิศทางแล้ว ไม่สามารถกำหนดทิศทางได้โดยฝ่ายนักการเมืองแล้ว   นากยกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี  ไม่ได้มีจุดเกาะเกี่ยวที่จะกระชากอำนาจตรงนั้นเลย  แต่ถ้าจะทำจะเป็นการเผชิญหน้า   มีกฎหมายอยู่ข้อหนึ่งบอกว่าสปสช.จะต้องส่งงบดุลรายการใช้จ่าย  เพื่อให้คณะรัฐมนตรีเสนอต่อสภาโดยผ่านรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข   สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขโดย รัฐมนตรีทำได้คือจับไปตรวจการใช้งบ  การใช้เงิน เป็นไปตามหลักการใด   ตอน นี้มีการใช้อำนาจตามอำเภอใจหลายอย่าง  ที่ผมบอกว่า ตามอำเภอใจก็คือไม่มีกฎหมายรองรับ ในทางกฎหมายมหาชนกิจกรรมที่รัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐจัดทำนั้นก็มีกฎหมายให้อำนาจ    กฎหมายจะเป็นแหล่งที่มาของอำนาจ  ในขณะเดียวกันกฎหมายข้อมีอยู่ข้อหนึ่งของใช้อำนาจ  บัญชีเงินเดือนของสปสช. มาอยู่ที่ไหน  สิ่งเหล่านี้กระทบหรือไม่ต่อกิจการบริการสาธารณสุข   ถ้าถามผม  ผมว่ากระทบเพราะเงินเหล่านี้  รวมทั้งเงินของท่านอยู่ในถังเดียวกัน คือหลักประกันสุขภาพ  

ตามกฎหมายฉบับ นี้ ฝ่ายสาธารณสุขทั้งนั้นเลย ฝ่ายภาครัฐทั้งนั้นเลยเข้ามากำกับหมด มิหนำซ้ำ การรักษาพยาบาลของแพทย์ก็ถูกแทรกแซง   ถ้าท่าน รักษาแบบที่เขาบอกว่าทำมา 5 ข้อ 1,2,3,4,5 แต่จริงๆ แล้วมี 8ข้อ  แต่มีอีก 3 ข้อไม่ทำ จะทำอย่างไร   นั่นคือการแทรกแซง ในวิธีการรักษาพยาบาล ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ว่า ท่านได้รับความคุ้มครองในเรื่องเหล่านี้  นี่คือสิ่งแตกย่อย ผมสรุปเรื่องนี้มีอยู่ 2 อย่าง 1.กฎหมายวันนี้คือเกาะเกี่ยวในการกำหนดทิศทางในการสาธารณสุข    ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข  หรือ ระหว่างรัฐบาล กับสปสช.หลังจากมีปัญหาแล้ว  อันที่ 2 วิธีการใช้กิจกรรมของเขามีปัญหา   วิธีการใช้อำนาจ เขามีปัญหา   หน่วยงานนี้หรือกิจกรรมเหล่านี้ที่คิดร่วมกัน    เขาต้องการทำอะไร   วันนี้สิ่ง ที่เกิดขึ้นเราพอใจหรือยัง  ถ้าพอใจเราก็ก้มหน้าก้ม ตาทำต่อไป  แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ต้องทำให้มีการเปลี่ยนแปลง และผมเข้าใจว่าประชาชนที่ตระหนักถึงเรื่องนี้สับสนกับการเปลี่ยนแปลงที่จะ เกิดขึ้น    ******
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 เมษายน 2010, 21:20:49 โดย pradit »

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
น่าสนใจมากครับ เปิดหูเปิดตาได้ดีทีเดียว
ตกผลึกกันได้แล้วพวกเรา