ผู้เขียน หัวข้อ: นักการเมืองพูดไว้-นโยบายด้านการแพทย์และสาธารณสุข-1-นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  (อ่าน 3077 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
การเสวนาเรื่องนโยบาย ด้านการแพทย์และสาธารณสุขกับพรรคการเมือง
สรุปการเสวนาโดย
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ผู้ดำเนินการเสวนา

แพทยสภาได้จัดการเสวนาเรื่อง นโยบายด้านการแพทย์และสาธารณสุขของพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 เวลา 9.00-12.30 น. ณ ห้องประชุมสยามมกุฏราชกุมาร อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมเสวนาคือนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นพ.วินัย วิริยะกิจจา รองหัวหน้าพรรคชาติไทย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคพลังประชาชน และนพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ ผู้แทนพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยมีนพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ รองเลขาธิการแพทยสภาและพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

     การเสวนาได้ให้เกียรติหัวหน้าพรรคที่มาด้วยตนเอง จึงได้เริ่มจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวว่าความฝันอันสูงสุดคือ ทำอย่างไรให้คนไทยป่วยน้อยลง และมีสุขภาพดี โดยได้กล่าวอ้างว่าพรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งสสส.(กองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)โดยเอาเงินมาจากภาษีบาปคือภาษีเหล้าและบุหรี่ เพื่อให้มีการดำเนินการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไป และได้นำเอาองค์กรเอกชนมาสนับสนุนสสส. และพรรคประชาธิปัตย์เป็นผู้ผลักดันกฎหมายแม่บทด้านสุขภาพคือพ.ร.บ.สุขภาพ แห่งชาติ เพื่อผลักดันให้ประชาชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาพ สนับสนุนให้เกิดความปลอดภัยในภาคเกษตร เช่นควบคุมการใช้สารเคมี ความปลอดภัยในการใช้แรงงาน  ดูแลปัญหาโรคเอดส์ การติดเชื้อ และจะส่งเสริมการทำงานสาธารณสุขเชิงรุก โดยสนับสนุนการทำงานของผู้สื่อข่าวสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุข(ผสส.และ อสม.) ริเริ่มการจัดให้มีการบันทึกประวัติสุขภาพครอบครัว ถ้าได้เป็นฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลจะสนับสนุนนโยบายหลักประกันสุขภาพ โดยจะเพิ่มเงินค่าหัวเป็น 2,300 บาทและอาจให้มีการ ร่วมจ่ายแต่ควรเป็นการจ่ายล่วงหน้า ไม่จ่ายในขณะรับบริการ เพราะถ้ามีการจ่ายในขณะรับบริการจะทำให้เกิดความรู้สึกว่าใครไม่จ่ายจะได้ รับบริการไม่ดี จะแก้ปัญหาบุคลากรไหลออก ส่วนระบบอื่นๆเช่นระบบประกันสังคมจะให้เป็นอิสระ โปร่งใสมากขึ้น เพิ่มเงินเข้าระบบมากขึ้นและให้สิทธิประโยชน์มากขึ้น ส่วนการจัดบริการจะให้มีการหารายได้เพิ่มขึ้น เช่นการเก็บค่าบริการจากห้องพิเศษ หรือให้มีระบบประกันพิเศษเสริม ให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลภาครัฐ พัฒนาระบบบริการอุบัติเหตุและฉุกเฉินและโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง แก้ปัญหาการฟ้องร้องโดยระบบไกล่เกลี่ย และจัดตั้งกองทุนชดเชยโดยไม่เกี่ยวกับการรับผิดและคดีอาญา การจัดระบบบริการการแพทย์ใหม่ ไม่แก้ไขพ.ร.บ.วิชาชีพโดยไม่แจ้งให้ผู้ประกอบวิชาชีพทราบ