ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปเนื้อหาการสัมมนา สปสช.(12มีค)-ช่วงที่1-นายสุกฤษฎ์ กิติศรีวรพันธุ์(นักกฎหมาย)  (อ่าน 3153 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
การสัมมนา เริ่มด้วยการบรรยายพิเศษ เรื่อง การบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยโดยนายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธ์ ประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อความมั่นคง ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่า
จากการบัญญัติพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ทำให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)  ตามมาตรา 24 ที่กำหนดไว้ว่า

มาตรา ๒๔ ให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรี
มีหน้าที่ ---- กำกับดูแลหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการในการให้บริการสาธารณสุข
          ---- ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ
          ---- กำกับดูแลการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
          ---- กำหนดมาตรการควบคุมและส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ

นายสุกฤษฎ์ กิติศรีวรพันธุ์ ประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อความมั่นคง กล่าวว่า สปสช. มีโครงสร้างการบริหารที่แปลกประหลาดในสายตาของนักกฎหมาย เนื่องจากอยู่เหนือพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534แต่มีกฎหมายดูแลโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ซึ่งกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีอำนาจในการกำกับดูแลสปสช. แต่ไม่สามารถควบคุมบริหารจัดการ โดยอำนาจทั้งหมดเป็นของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.)
   
  “แม้โครงสร้างของ สปสช.จะจัดตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการล้วงลูกของฝ่ายการเมือง แต่โดยหลักประชาธิปไตยควรมีการเกาะเกี่ยวกับผู้บริหารกระทรวงสธ.ด้วย เพราะหากปล่อยให้ สปสช.ดูแลกันเอง ในอนาคตจะต้องเกิดปัญหา โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณอย่างแน่นอน เห็นได้จากปัจจุบันกฎหมายกำหนดให้เลขาธิการ สปสช.สามารถเซ็นอนุมัติใดๆ วงเงินถึงพันล้านบาท ซึ่งมากเกินไป” นายสุกฤษฎิ์ กล่าว

นายสุกฤษฎิ์ ยังพูดอีกว่า แม้ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) จะเป็นองค์กรอิสระ แต่ก็ยังประกาศว่า การดำเนินงานทั้งหมดของกทช.จะดำเนินตามนโยบายของรัฐบาลที่เป็นผู้บริหารประเทศ
     แต่สปสช.ไม่ใช่องค์กรอิสระ เป็นองค์กรของรัฐ อยู่ภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสธ. แต่สปสช.ไม่เคย สนใจว่ารมว.สธ.ต้องการดำเนินนโยบายด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างไร แต่สปสช จะดำเนินการตามความต้องการของตน (คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) เท่านั้น  ส่วนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสธ. ก็ไม่รู้ว่าตัวเองมีอำนาจหน้าที่อะไรในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  รัฐมนตรีมีอำนาจแค่ กำกับดูแลสปสช.เท่านั้น  ไม่มีอำนาจสั่งการหรือบังคับบัญชา แค่อยากให้สปสช.ทำอะไร ก็ต้องผ่านมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น
      มีรัฐมนตรีกระทรวงไหนบ้าง ที่ขาดอำนาจ "สั่งการและบังคับบัญชา" ผู้ที่ทำหน้าที่ตามนโยบายของรัฐบาล แต่รัฐมนตรีหลายคนของกระทรวงสธ. (เป็น สิบๆคน หลังมีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545) ยังไม่รู้สึกตัว ว่าตัวเองขาดอำนาจ "ในการบังคับบัญชา" หน่วยงานที่มีงบประมาณมากที่สุดที่ต้องทำงานให้กระทรวงของตนเอง ตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีที่ตัวเองเป็นผู้กำหนด โดยที่สปสช.จะทำตามหรือไม่ก็ได้


today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
โค๊ด: [Select]
นายสุกฤษฎ์ กิติศรีวรพันธุ์ ประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อความมั่นคง กล่าวว่า สปสช. มีโครงสร้างการบริหารที่แปลกประหลาดในสายตาของนักกฎหมาย
สปสช.ถึงได้มีพฤติกรรมการบริหารงบประมาณด้านสุขภาพ  ที่แปลกประหลาดในสายตาของชาวสาธารณสุข เช่นกัน