ผู้อภิปรายคนต่อมา คือ นส.ชุมศรี พจนปรีชา รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ที่ได้สรุปว่า
1.กล่าวว่า งบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากมีระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเพิ่มจาก 65,041.20 ล้านบาทในปีพ.ศ. 2544 เพิ่มเป็น178,042.1 ล้านบาท ในปีพ.ศ. 2553
2.อัตราการเพิ่มของงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขก่อนมีหลักประกันฯเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1.90% ต่อปี ส่วนหลังมีระบบหลักประกันฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 12.46% ต่อปี
ในขณะที่งบประมาณทั้งประเทศเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 4.37% และ6.13% ต่อปีในช่วงก่อนและหลังมีพ.ร.บ.หลักประกันฯ ตามลำดับ
3.อัตราส่วนของงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขก่อนมีหลักประกัน โดยเฉลี่ยประมาณ 7.38%ของงบประมาณแผ่นดินทั้งประเทศ หลังมีหลักประกันเฉลี่ยประมาณ 8.29% โดยเฉพาะในช่วงปี 2550-2553 มีอัตราตั้งแต่ 8.7-10.5% ของงบประมาณแผ่นดินทั้งหมด
4.ภายหลังมีระบบหลักประกันฯแล้วงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุขมีอัตราส่วนลดลงจาก 90.2%-97.4% ของงบประมาณด้านสาธารณสุขเป็น50.5-57.0 ในช่วงแรกที่มีระบบหลักประกันฯ และเหลือเพียง 40.-42.5 ในช่วงปี 2550-2553 เพราะงบประมาณส่วนใหญ่ได้ย้ายไปอยู่ที่สปสช.แทน
5.แนวโน้มและภาระงบประมาณในอนาคต
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณยังได้กล่าวอีกว่า งบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีแนวโน้มที่จะเป็นภาระงบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสาเหตุดังต่อไปนี้คือ
5.1 คนไทยมีจะปัญหาด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้
---ปัญหาพฤติกรรมด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภค ที่เป็นไปในทางที่ทำลายสุขภาพ เช่น การไม่ออกกำลังกาย ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด อ้วน ไขมันในเลือดสูงฯลฯ
---มีโรคอุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ เช่นไข้หวัดนก หวัดหมู เอดส์ วัณโรค
---โรคภัยจากการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดภูมิแพ้ มะเร็ง
---การเคลื่อนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้มีปัญหาสุขภาพจากความเสื่อมโทรมตามวัย
5.2 ประชาชนมีความคาดหวังว่าคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจึงคาดหวังว่าบริการสุขภาพก็ควรจะมีคุณภาพและครอบคลุมมากขึ้น
5.3 มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ใหม่ๆเพิ่มขึ้น และมีราคาสูงเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
5.4 รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณสำหรับระบบหลักประกันฯเพียงฝ่ายเดียว ประชาชนไม่ต้องร่วมจ่าย และไม่ต้องรับผิดชอบดูแลสุขภาพ
ปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินงานของระบบหลักประกันสุขภาพฯ รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณได้กล่าวว่า หากงบประมาณด้านการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะหลักประกันฯยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของงบประมาณแผ่นดินอย่างต่อเนื่อง ก็จะส่งผลกระทบต่องบประมาณในการพัฒนาด้านอื่น ซึ่งจะส่งผลถึงความยั่งยืนของระบบหลักประกันฯในที่สุด
รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณยังได้กล่าวเสนอแนะดังนี้คือ
1.ปรับปรุงระบบจัดเก็บรายได้
2.ส่งเสริมให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพตนเองมากขึ้น
3.ทบทวนนโยบายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
4.ขยายระบบประกันสังคมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานต่างด้าวด้วย
5.เพิ่มประสิทธิภาพการใช้บริการสาธารณสุข