ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปเนื้อหาการสัมมนา สปสช.(12มีค)-อภิปราย2-นพ.สมชัย นิจพาณิช(กระทรวงสธ.)  (อ่าน 2568 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
ต่อมาเป็นการอภิปรายของนพ.สมชัย นิจพาณิช ผู้อำนวยการกองประกันสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ได้กล่าวถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุขในการจัดการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทั้งประเทศ  แต่หลังจากระบบหลักประกันสุขภาพเกิดขึ้น กระทรวงสธ.ไม่ได้รับงบประมาณโดยตรงจากรัฐบาลในการดำเนินการในการให้บริการประชาชน รวมทั้งเงินเดือนของข้าราชการของสธ.เองส่วนหนึ่ง ก็จ่ายผ่านกองทุน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 

กระทรวงสาธารณสุขยังมีหน้าที่ให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชน  แต่ต้องไปขอรับงบประมาณในการดำเนินการมาจากสปสช. และต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่สปสช.ตั้งไว้ โดยงบประมาณที่สปสช.จ่ายมาให้โรงพยาบาลนั้น เป็นงบประมาณที่ไม่สมดุลกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาผู้ป่วย จนเป็นผลให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสธ.ทั้งหมด 807 โรงพยาบาลนั้น ประสบปัญหาขาดดุลทำให้โรงพยาบาลจำนวน 505 โรงพยาบาล (62.8%) มีกระแสเงินสดเป็นลบ ยอดรวมทั้งสิ้น5,575,218,538.79 ล้านบาท ในขณะที่มีเพียง 302 โรงพยาบาล( 31.2%) มีกระแสเงินสดเป็นบวกอยู่ 4,329,218,538.79 บาท
(หมายเหตุ โรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีเงินเหลือเป็นจำนวนหมื่นๆล้าน ดังที่นพ.ประทีปกล่าวอ้าง)

  สำหรับโรงพยาบาล 505 แห่งที่มีกระแสเงินสดเป็นลบนั้น มีจำนวนที่ยังมีสภาพคล่องอยู่ 330 แห่ง ส่วนโรงพยาบาลที่ขาดสภาพคล่องนั้นมีจำนวน 175 แห่ง  เป็นโรงพยาบาลชายแดน 7 แห่ง และโรงพยาบาลที่ไม่อยู่ชายแดนอีก 168 แห่ง จำนวนเงินที่ขาดทุน 1,531,148,390.16 บาท
 
  นอกจากนั้นการที่สปสช.โอนงบประมาณการส่งเสริมและป้องกันโรคไปสู่องค์การปกครองท้องถิ่นโดยตรง ทำให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ)ต้องปรับตัวในการประสานกับท้องถิ่นในการทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพราะสสจ.ไม่ได้รับงบประมาณในการดำเนินงานจากกระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.ก็ไม่โอนเงินส่วนนี้ให้สสจ. แต่โอนไปให้ท้องถิ่นโดยตรง

และนพ.สมชัย ได้เสนอแนวทางการแก้ไขว่า
1.ควรพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการป้องกันโรค เพื่อลดอัตราป่วย จะทำให้โรงพยาบาลมีภาระงานลดลง ในขณะที่ประชาชนก็มีสุขภาพดี
2.ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพบริการ ควรดำเนินการให้หน่วยบริการได้รับงบประมาณที่เหมาะสมกับคุณภาพมาตรฐาน โดยจ่ายตามราคาที่เป็นจริง (unit cost)
3.สนับสนุนให้อสม.มีบทบาทในเชิงรุก.ในการสร้างสุขภาพและป้องกันโรค
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาข้อมูลให้ทันสมัย และมีการเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้ทุกหน่วยงานนำไปใช้ในการบริหารจัดการได้ เพราะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โรงพยาบาลแต่ละแห่งมีแต่ข้อมูลของตนเองที่ต้องส่งให้สปสช. เพื่อขอรับเงินค่าดำเนินการ แต่ไม่ได้รับทราบข้อมูลของโรงพยาบาลอื่นๆ ที่สปสช.ได้รวบรวมไว้ทั้งหมด
5.ยุทธศาสตร์การปรับปรุงกฎหมาย ปรับปรุงข้อกฎหมาย ข้อปฏิบัติ ที่กำหนดภารกิจของกระทรวงสธ.และสปสช. ให้ชัดเจนในการรับผิดชอบ

ข้อสังเกตของผู้เขียน 1. กระทรวงสาธารณสุขควรคำนึงถึงภาระงานของบุคลากร และสร้างแรงจูงใจบุคลากรในการเต็มใจทำงานให้บริการประชาชน (ไม่ลาออกจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง) โดยการกำหนดมาตรฐานเวลาทำงาน และค่าตอบแทนที่เหมาะสม เทียบได้กับราคาตลาด
                          2. ในด้านกฎหมายนั้น พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ได้กำหนดให้สปสช.เป็นผู้จ่ายเงิน “ค่าบริการสาธารณสุข” ให้แก่หน่วยบริการ อย่างชัดเจนอยู่แล้ว แต่สปสช.เป็นผู้ถือเงิน ก็เลย “ใช้อำนาจเงิน” สั่งการนอกเหนือภารกิจตามกฎหมายของตนเอง โดยกระทรวงสธ.ก็ยอมทำตาม โดยไม่โต้แย้งเพราะถ้าไม่ทำตามก็จะไม่ได้เงินมาใช้จ่ายในการทำงานให้บริการประชาชน

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
สปสช.เป็นผู้ถือเงิน ก็เลย “ใช้อำนาจเงิน” สั่งการนอกเหนือภารกิจตามกฎหมายของตนเอง โดยกระทรวงสธ.ก็ยอมทำตาม โดยไม่โต้แย้งเพราะถ้าไม่ทำตามก็จะไม่ได้เงินมาใช้จ่ายในการทำงานให้บริการประชาชน



เราเป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ควรเชื่อฟังใครดี ระหว่างปลัดกระทรวง(หัวหน้าเรา) กับเลขา สปสช. (คนให้เงินเรา)